เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

(About Antimicrobial Resistance – AMR)
[seopress_breadcrumbs]


การดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) เกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย หรือเชื้อรา เปลี่ยนแปลงตัวเองให้เอาชนะยาที่ใช้ ส่งผลให้ยาไม่สามารถฆ่าเชื้อ หรือยับยั้งการเติบโตได้

AMR เป็นหนึ่งในภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เชื้อดื้อต่อยาโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ได้ทวีความรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การที่ผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา ทําให้ต้องใช้ยารักษาทางเลือกที่สองและสาม ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่น อวัยวะล้มเหลว และยืดเวลาการดูแลและการฟื้นตัว บางครั้งเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้มีเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยารุนแรง ทำให้ยาปฏิชีวนะที่เคยใช้ได้ผลดีในอดีต กลับกลายเป็นใช้ไม่ได้ผลแล้วในปัจจุบัน

การติดเชื้อที่ดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย คาดว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณปีละ 88,000 ราย เสียชีวิตประมาณปีละ 38,000 ราย คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณปีละ 4.2 หมื่นล้านบาท ถือเป็นวิกฤติการณ์เร่งด่วนที่หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องเร่งรัดทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ มุงหวังให้สามารถลดความเสี่ยงจากการป่วยและการตายจากเชื้อดื้อยา