[seopress_breadcrumbs]

SKIN AND SOFT TISSUE INFECTIONS

Introduction

การติดเชื้อที่ผิวหนังพบได้บ่อยทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ เชื้อที่ก่อโรคในเด็กที่พบบ่อยมี 4 กลุ่มได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย รา และปรสิต การรักษาประกอบด้วยการทำความสะอาด หลีกเลี่ยงการแกะเกา และการดูแลรักษาตามลักษณะของผื่น และความรุนแรงที่แตกต่างกันตามประเภทของการติดเชื้อ การพิจารณาเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมีความสำคัญ ทั้งต่อการหยุดยั้งการติดเชื้อ และการลดปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น อันจะก่อให้เกิดโอกาสเพิ่มปัญหาแบคทีเรียดื้อยาเพิ่มมากขึ้น

CLINICAL

ประเภทของบาดแผลตามลักษณะพยาธิสภาพ แบ่งเป็น

1. บาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่ทำให้เกิดรอยแยกของผิวหนัง ได้แก่

  • แผลถลอก: แผลตื้น มีผิวหนังถลอกและมีเลือดออกเล็กน้อย
  • แผลฉีกขาด: ผิวหนังและเนื้อเยื่อฉีกขาดจากวัตถุที่ไม่มีคม
  • แผลตัด: ผิวหนังและเนื้อเยื่อฉีกขาดจากจากอาวุธหรือเครื่องมือที่มีคมเรียบตัด
  • แผลถูกแทง: เป็นแผลที่เกิดจากวัตถุที่มีปลายแหลมแทงเข้าไป
  • แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก: เป็นแผลที่เกิดจากความร้อน หรือถูกกรด-ด่าง

2. แผลสัตว์กัด

เนื่องจากในน้ำลายของสัตว์มีเชื้อจุลชีพมากมาย การถูกสัตว์กัดมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหากดูแลรักษาไม่ดีพอ

3. บาดแผลติดเชื้อ

3.1. บาดแผลติดเชื้อ ชนิด Toxic Shock
Toxic shock syndrome (TSS) คือภาวะ Shock จาก Toxin ที่มาจากการติดเชื้อ S. pyogenes หรือ S. aureus ที่มักจะอาศัยอยู่ตามผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย โดยบางสายพันธุ์สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล จากนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด พร้อมทั้งสร้างสารพิษภายในร่างกาย ทำให้เกิดไข้ hypotension ร่วมกับ multiorgan failure อย่างน้อย 2-3 ระบบ (ตับ, ไต, เลือด, ผิวหนัง, หายใจ และระบบประสาท) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ยากแต่อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

3.2. บาดแผลติดเชื้อ ชนิด Non-toxic Shock
พบได้บ่อยในเด็กทุกกลุ่มอายุ แบ่งตามระดับการลุกลามที่ผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง ดังนี้

  • Impetigo: Intraepithelial vesiculo-pustules มักพบบริเวณหน้าและแขนขา ไม่เจ็บ คัน แตกออกเป็นสะเก็ด golden-yellow crusts ไม่มี systemic symptoms
  • Folliculitis: ตุ่มหนองที่ hair follicles คัน ไม่มีไข้และ systemic symptoms
  • Furuncle (boil): Deep inflammatory nodules เป็น folliculitis ที่ลึกลงไป และ small subcutaneous abscess โดยรอบ มักพบบริเวณคอ หน้า รักแร้ และก้น
  • Carbuncle: เป็น clusters ของ furuncles ที่ลึกลงไปในชั้น subcutaneous เป็นหนอง (suppuration) หรือก้อนฝีที่บริเวณ hair follicles
  • Erysipelas: โรคไฟลามทุ่ง หรือ superficial cellulitis ตำแหน่ง epidermis และ dermal lymphatic มี systemic symptoms ไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ผิวหนังอักเสบลุกลามอย่างรวดเร็ว มีลักษณะบวมแดงคล้ายเปลือกส้ม (peau d’orange) ขอบเขตชัด กดเจ็บ อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต และผู้ป่วยร้อยละ 5 มีการติดเชื้อในกระแสเลือด
  • Cellulitis: การติดเชื้อตำแหน่ง deep dermis and subcutaneous fat พบบ่อยที่แขน ขา และใบหน้า มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอยโรคมีขอบเขตไม่ชัด อาจมีอาการไข้หรือต่อมน้ำเหลืองโต ผู้ป่วยร้อยละ 2-4 มีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย

COMMON PATHOGENS

TREATMENTS

แนวทางการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะรักษาแผลในเด็ก (แผนภูมิ P-SSI-01-1)

แผลเปิด
แผลสัตว์กัด
Toxic Shock
Non-Toxic Shock

แผลเปิด

ข้อบ่งชี้การไม่ให้ antibiotic
1. clean wound
2. wound care within 6 hr
3. sharp border
4. no debris/foreign body

ข้อบ่งชี้การให้ antibiotic
1. wound at foot
2. crush injury
3. wound in patient with immunocompromise host (เช่น ผู้ป่วย HIV+ เบาหวาน ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันต่างๆ)
4. dirty/contaminated wound
5. แผลลึกถึงกระดูก

Antibiotics ที่แนะนำ
IPD:
⇒ Cloxacillin 50-200 mg/kg/day IV q 6 hr
⇒ If penicillin allergy (Non-type 1):
– Cefazolin 50-100 mg/kg/day IV q 6-8 hr
⇒ If penicillin allergy (Type 1):
– Clindamycin 30-40 mg/kg/day IV q 6-8hr
OPD:
⇒ Dicloxacillin 25-50 mg/kg/day qid, ac & hs
⇒ If penicillin allergy (Non-type 1):
– Cephalexin 25-50 mg/kg/day tid-qid, pc
⇒ If penicillin allergy (Type 1):
– Clindamycin 30-40 mg/kg/day tid-qid, pc หรือ
– Co-trimoxazole 6-12 mg/kg/day bid, pc

แผลสัตว์กัด

ข้อบ่งชี้การให้ antibiotic
1. บาดแผลขนาดใหญ่
2. บาดแผลบริเวณนิ้วมือ มือ ใบหน้า
3. แผลลึกถึงกระดูก
4. ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไตวาย เบาหวาน ตัดม้าม
5. แมวกัด
6. delay wound care >12 hr

Antibiotics ที่แนะนำ
IPD:
⇒ Amoxicillin-Clavulanate 30-50 mg/kg/day IV q 8-12 hr
⇒ If penicillin allergy (Non-type 1):
– 3rd-generation Cephalosporin + Metronidazole/Clindamycin
OPD:
⇒ Amoxicillin 30-50 mg/kg/day bid, tid
⇒ Amoxicillin-Clavulanate 30-50 mg/kg/day bid-tid, pc
⇒ If penicillin allergy (Type 1):
– Doxycycline 2-5 mg/kg/day od-bid, pc

Toxic Shock

ข้อบ่งชี้การให้ antibiotic
กลุ่มอาการ TSS ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็ว

Antibiotics ที่แนะนำ
IPD: Beta-lactam anti-staphylococcus ได้แก่
⇒ Cloxacillin 100-200 mg/kg/day IV q 6 hr Plus Clindamycin 30-40 mg/kg/day IV q 6-8 hr

Non-Toxic Shock

การให้ antibiotic
1. Cellulitis
2. Erysipelas
3. Carbuncle
4. Furuncle
5. Folliculitis
6. – Impetigo

Antibiotics ที่แนะนำ
IPD:
⇒ Cloxacillin 50-200 mg/kg/day IV q 6 hr
⇒ If penicillin allergy (Non-type 1):
– Cefazolin 50-100 mg/kg/day IV q 6-8 hr
OPD:
⇒ Dicloxacillin 25-50 mg/kg/day qid, ac & hs
⇒ If penicillin allergy (Type 1):
– Cephalexin 25-50 mg/kg/day tid-qid, pc

ระยะเวลาการให้ยา 3-5 วัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และ 7-14 วัน เพื่อรักษาการติดเชื้อ

แผนภูมิ P-SSI-01-1 แนวทางการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะรักษาแผลในเด็ก

ตารางที่ 1 การให้ยาปฏิชีวนะเบื้องต้นในการรักษาผู้ป่วยที่สงสัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

เชื้อก่อโรคที่พบบ่อย ยาที่ควรเลือกใช้ ขนาดยา
อายุ
น้อยกว่า
1 เดือน
S. agalactiae
E. coli,
Klebsiella spp.
L. monocytogenes
 Cefotaxime + Aminoglycoside
(+ Ampicillin ถ้าสงสัยหรือย้อมน้ำไขสันหลังพบ  gram positive bacilli) Aminoglycoside: พิจารณาให้ Gentamicin หรือ  Amikacin
ให้ดูตามเอกสารแนบ
อายุ
1-3 เดือน
S. agalactiae
E. coli,
Klebsiella spp.,
Salmonella spp.,
S. pneumoniae
H. influenza type b
N. meningitides
 Cefotaxime/Ceftriaxone
+/- Vancomycin*
+/- Ciprofloxacin**
 – Cefotaxime
225-300 mg/kg/day IV ทุก 6-8 ชั่วโมง
– Ceftriaxone
100 mg/kg/day IV ทุก 12-24 ชั่วโมง
– Vancomycin
60-80 mg/kg/day IV ทุก 6 ชั่วโมง
– Ciprofloxacin
30-40 mg/kg/day IV ทุก 12 ชั่วโมง
– Gentamicin
5 mg/kg/day IV ทุก 24 ชั่วโมง
– Amikacin
15 mg/kg/day IV ทุก 24 ชั่วโมง
อายุ
3 – 23 เดือน
H. influenza type b
S. pneumoniae
Salmonella spp.
N. meningitides
อายุ 2 ปี
ขึ้นไป
S. pneumoniae

 

* พิจารณาให้ vancomycin ร่วมด้วยหาก 1) ย้อมสี gram stain ในน้ำไขสันหลังพบเชื้อ gram positive diplococci 2) ตรวจ latex agglutination ได้ผลบวกต่อเชื้อ S. pneumoniae 3) ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ S. pneumoniae ที่ดื้อต่อยา เช่น ผู้ป่วยที่ได้ยากลุ่ม Beta-lactam มาก่อน ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และ 4) ผู้ป่วยมีอาการหนัก เช่น มีภาวะ shock ร่วมด้วย

** พิจารณาให้ Ciprofloxacin ร่วมด้วยหากย้อมสี gram stain ในน้ำไขสันหลังพบเชื้อ gram negative bacilli และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Salmonella spp.

 

OTHER RESOURCES

P-07-SST-01 SSI bacterial skin image