[seopress_breadcrumbs]

SURGICAL SITE INFECTIONS

Introduction

Surgical site infection (SSI) เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดในบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งอาจจะเกิดบริเวณตื้นเพียงชั้นผิวหนัง หรือระดับลึกไปที่บริเวณเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ หรืออวัยวะภายใน SSI ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น และรุนแรงถึงเสียชีวิต ทั้งนี้ พบเป็นประมาณร้อยละ 20 ของการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล (Hospital-acquired infections – HAI) ทั้งหมด โดยร้อยละ 75 ของ HAI ที่เสียชีวิต

CLINICAL

Diagnosis Criteria

การวินิจฉัยตามระดับของการติดเชื้อ (SSI Classification)

1. Superficial incisional SSI
มีข้อบ่งชี้ทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้
(1) เกิดขึ้นภายใน 30 วันหลังการผ่าตัด (วันที่ 1 คือวันที่ทำผ่าตัด)
(2) มีการติดเชื้อเฉพาะที่ชั้นผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
(3) มีลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง

  • ตรวจพบเชื้อจุลชีพจากตําแหน่งผ่าตัดชั้นตื้นหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (โดยเก็บสิ่งส่งตรวจแบบปราศจากเชื้อ หรือ aseptically-obtained specimen)
  • ตําแหน่งผ่าตัดถูกเปิดโดยแพทย์หรือบุคคลอื่นทื่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ได้ทําการตรวจหาเชื้อ ร่วมกับการที่ผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง ได้แก่ ปวด หรือกดเจ็บเฉพาะที่ (localized pain or tenderness) บวม (localized swelling) แดง (erythema) หรือ ร้อน (heat)

2. Deep incisional SSI
(1) เกิดการติดเชื้อภายในเวลา 30 วัน หรือ 90 วันหลังการผ่าตัด (วันที่ 1 คือวันที่ทำผ่าตัด) ขึ้นกับประเภทของการผ่าตัด (ดูตารางที่ 1)
(2) เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อชั้นลึก (เช่น ระดับชั้นพังผืดและกล้ามเนื้อ)
(3) มีลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง

  • มีหนองออกจากตำแหน่งผ่าตัดชั้นลึก (fascia และ muscle)
  • แผลผ่าตัดแยกเองหรือถูกเปิดแผลหรือดูดโดยแพทย์หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมาย และตรวจพบเชื้อจุลชีพ ร่วมกับการที่ผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง ได้แก่ มีไข้ (BT ≥ 38˚C) หรือ ปวดหรือกดเจ็บเฉพาะที่
  • พบฝีหรือหลักฐานอื่นที่แสดงการติดเชื้อในส่วนลึกของแผลผ่าตัด

3. Organ/space SSI
(1) เกิดการติดเชื้อภายในเวลา 30 วัน หรือ 90 วันหลังการผ่าตัด (วันที่ 1 คือวันที่ทำผ่าตัด) ขึ้นกับประเภทของการผ่าตัด
(2) การติดเชื้อเกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปจากชั้นผังผืดหรือกล้ามเนื้อที่ถูกเปิดระหว่างการผ่าตัด
(3) มีลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง

  • มีหนองออกจากท่อระบายที่ใส่ไว้ภายในอวัยวะ หรือช่องโพรงในร่างกาย
  • ตรวจพบเชื้อจุลชีพจากของเหลวหรือเนื้อเยื่อในอวัยวะหรือช่องโพรงในร่างกาย
  • พบฝีหรือหลักฐานอื่นที่แสดงการติดเชื้อในอวัยวะหรือช่องโพรงในร่างกาย

(4) เข้าได้กับเกณฑ์อย่างน้อยหนึ่งข้อในการติดเชื้อที่อวัยวะหรือช่องโพรงในร่างกายที่จําเพาะ (อ่านเพิ่มเติมใน CDC/NHSN Surveillance Definitions for Specific Types of Infections)

COMMON PATHOGENS

TREATMENTS

General Principle

  • ควบคุมแหล่งการติดเชื้ออย่างเหมาะสม (adequate source control) เช่น เปิดแผลผ่าตัดเพื่อระบายฝีหนอง หรือเอา suture, foreign body, mesh, graft, conduit หรือ device อื่น ๆ ออก
  • ให้ยาต้านจุลชีพเมื่อมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
    1. รอยแดงนูนขนาดตั้งแต่ 5 ซม.ขึ้นไปจากขอบแผลผ่าตัด
    2. มีไข้ ≥ 38.5˚C, ชีพจร ≥ 110 ครั้ง/นาที, หรือความดันโลหิตต่ำ
    3. WBC ≥ 12,000 หรือ < 4,000/µl
    4. Organ/space/deep-seated tissue infection

Recommended Empirical Antibiotics

  • แนะนำให้ยาต้านจุลชีพแบบครอบคลุม เป็นระยะเวลา 3-5 วัน ระหว่างรอผลการเพาะเชื้อและแบบแผนความไวเชื้อ ร่วมกับการติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเป็นระยะ
  • พิจารณาเลือกใช้ยา Empirical antibiotics ตามบริเวณที่ผ่าตัด ตามตารางที่ SSI-01-01 และ ตารางที่ SSI-01-02

ตารางที่ SSI-01-01 ยาต้านจุลชีพแบบครอบคลุมที่แนะนำให้ใช้ แบ่งตามบริเวณที่ผ่าตัด

Type of surgery Common pathogens Recommended Alternatives
Neurologic, breast, cardiac, orthopedic,  vascular • S. aureus
• Coagulase negative staphylococci,
• Streptococci
• Cloxacillin
• Cefazolin
(do not use if meningitis)
• Ceftriaxone
• Vancomycin
• Clindamycin
(beta-lactam allergy)
 Head and neck, thoracic • S. aureus
• Aerobic and anaerobic streptococci
• Ampicillin-sulbactam
• Amoxicillin-clavulanic acid
• Ceftriaxone + metronidazole
(กรณี meningitis)
• Meropenem
 Intraabdominal, urologic, gynecologic • Streptococci
• Other gram-positive cocci
• Enteric or
non-fermentative gram-negative bacilli, anaerobes
• Ampicillin-sulbactam
• Amoxicillin-clavulanic acid
• Ceftriaxone + metronidazole
(กรณี meningitis)
• Ceftazidime + metronidazole
(กรณี meningitis)
• Piperacillin-tazobactam
• Ertapenem
• Imipenem
• Biapenem
• Doripenem
• Meropenem
(กรณี meningitis)

 

ตารางที่ SSI-01-02 ระยะเวลาการให้ยาต้านจุลชีพที่แนะนำ

Types of SSI Duration (days)
 ผู้ป่วยที่ได้รับ adequate source control 4
 ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ adequate source control 5-7
 ผู้ป่วยที่มีภาวะ secondary bacteremia ที่ได้รับ adequate source control ร่วมกับ repeat blood   culture แล้วไม่พบ bacteremia อีก 7
 Organ/space SSI รักษาตามระยะเวลาที่แนะนำของการติดเชื้อในอวัยวะ/ระบบนั้นๆ

 

 

OTHER RESOURCES

OTHER RESOURCES

ประเภทของการผ่าตัดตามระยะเวลาที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อแผลผ่าตัดที่ระยะ 30 และ 90 วันหลังผ่าตัด

30-day Surveillance
 Category  Operative Procedure  Category  Operative Procedure
AAA  Abdominal aortic aneurysm repair LAM Laminectomy
AMP  Limb amputation LTP Liver transplant
APPY  Appendix surgery NECK Neck surgery
AVSD  Shunt for dialysis NEPH Kidney surgery
BILI  Bile duct, liver or pancreatic surgery OVRY Ovarian surgery
CEA  Carotid endarterectomy PRST Prostate surgery
CHOL  Gallbladder surgery REC Rectal surgery
COLO  Colon surgery SB Small bowel surgery
CSEC  Cesarean section SPLE Spleen surgery
GAST  Gastric surgery THOR Thoracic surgery
HTP  Heart transplant THYR Thyroid and/or parathyroid surgery
HYST  Abdominal hysterectomy VHYS Vaginal hysterectomy
KTP  Kidney transplant XLAP Exploratory laparotomy
90-day Surveillance
Category   Operative Procedure
BRST  Breast surgery
CARD  Cardiac surgery
CBGB  Coronary artery bypass graft with both chest and donor site incisions
CBGC  Coronary artery bypass graft with chest incision only
CRAN  Craniotomy
FUSN  Spinal fusion
FX  Open reduction of fracture
HER  Herniorrhaphy
HPRO  Hip prosthesis
KPRO  Knee prosthesis
PACE  Pacemaker surgery
PVBY  Peripheral vascular bypass surgery
VSHN  Ventricular shunt

 

References

[1] Teena Chopra, Jie zhao Jing, George Alangaden and Michael H Wood, “Preventing surgical site infections after bariatric surgery: Value of perioperative antibiotic regimens,” Expert Review of Pharmacoeconomics & Outcomes Research, vol. 10, no. 3, pp. 317-28, 2010.

[2] U.S. Centers for Disease Control and Prevention, “Surgical Site Infection Event (SSI),” January 2024. [Online]. Available: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/9pscssicurrent.pdf. [Accessed 3 January 2024].

[3] ยงค์ รงค์รุ่งเรือง, “Surgical Site Infections,” in Handbook of Infectious Disease [Book Editors: รุจิภาส สิริจตุภัทร, ภาคภูมิ พุ่มพวง, วลัยพร วังจินดา], 2nd ed., Bangkok, สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564, pp. 177-180. ISBN 978-616-443-547-6.

M-08-SSI-01 image