[seopress_breadcrumbs]

MENINGITIS

Introduction

การอักเสบบริเวณเยื่อหุ้ม Pia และ Arachnoid ที่ห่อหุ้มสมองและไขสันหลังและเป็นที่อยู่ของน้ำไขสันหลัง (Subarachnoid space) สาเหตุเกิดได้ทั้งจาก infectious causes (ที่พบบ่อยคือไวรัส และแบคทีเรีย) และจาก non-infectious causes เช่นการบาดเจ็บ subarachnoid hemorrhage, chronic inflammatory disease (sarcoidosis) มะเร็ง

BACTERIAL MENIGITIS

 

CLINICAL

อาการสำคัญ

ไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คอแข็งเกร็ง ซึม เกิดขึ้นได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ระยะแสดงอาการแสดงสัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค

  • Acute meningitis: ส่วนใหญ่มักเกิดจาก bacteria ส่วนน้อยเกิดจาก virus หรือ rickettsia การติดเชื้อจาก bacteria มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง
  • Subacute or chronic meningitis: มักเกิดจาก TB หรือ fungus

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ

  • Local complications: ได้แก่ hydrocephalus, arterial or venous infarction, abducens palsy, deafness, empyema, increased intracranial pressure, brain abscess, brain enema และ herniation
  • Systemic complications: ได้แก่ septic shock, disseminated intravascular coagulation, และ hyponatremia จากภาวะ syndrome of inappropriate antidiuretic hormone secretion (SIADH)

 

COMMON PATHOGENS

COMMON PATHOGENS

Route of Entry

ส่วนใหญ่ผ่านทาง hematogenous spread ส่วนน้อยผ่านทางเนื้อเยื่อข้างเคียงที่ติดเชื้อ เช่นโพรงไซนัส และหูชั้นกลาง หรือจากอุบัติเหตุที่กระโหลกศีรษะและกระดูกสันหลัง หรือภาวะแทรกซ้อนหลัง neurosurgery เป็นต้น

Diagnostic Approaches

  • แนวทางการวินิจฉัยแยกโรค พิจารณาจากลักษณะการแสดงอาการ
    ⇒ Acute meningitis: มักมีอาการอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์
    – ทำ lumbar puncture (LP) และส่งตรวจ cerebrospinal fluid (CSF) ร่วมกับส่งตรวจ blood glucose และ blood culture และให้ empirical treatment ทันที
    – กรณีมีข้อห้าม LP เช่น papilledema ซึม ชัก แขนขาอ่อนแรง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ signs of increased intracranial pressure ควรตรวจ imaging เช่น CT brain
    ⇒ Subacute or chronic meningitis: มักเกิดจาก TB หรือ fungus
    – อาจพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมก่อนพิจารณาเลือกยาต้านจุลชีพท่ีเหมาะสม
  • แนวทางการวินิจฉัยแยกโรคจากผลตรวจ CSF แสดงในตารางที่ CNS-01-01

ตารางที่ CNS-01-01: การวินิจฉัยแยกโรคจากผลตรวจ CSF

Causative Pathogens Cell diff Protein Glucose Diagnostic test
Bacteria N ↓ ↓
(CSF/Blood<50%)
CSF gram, CSF/ blood culture
L. monocytogenes or partially treated bacteria L (30%)

N (70%)

 ↓ ↓ CSF/ blood culture
Rickettsia or M. pneumoniae L Normal/↑ normal Serology
TB L ↑↑↑  ↓ CSF AFB, PCR, culture
Fungus L  ↓ CSF india ink, Ag, culture
Virus L Normal/↑ normal CSF PCR

 

เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่พบบ่อย

  • เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่
    ⇒ Streptococcus pneumoniae
    ⇒ Group B Streptococcus
    ⇒ Neisseria meningitidis
    ⇒ Haemophilus influenzae
    ⇒ Listeria monocytogenes
    ⇒ Escherichia coli
  • เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เป็นไปได้ตามกลุ่มอายุ:
    Newborns: Group B Streptococcus, S. pneumoniae, L. monocytogenes, E. coli
    Infants-young children: S. pneumoniae, N. meningitidis, H. influenzae, group B Streptococcus, M. tuberculosis
    Teens-young adults: N. meningitidis, S. pneumoniae
    Older adults: S. pneumoniae, N. meningitidis, H. influenzae, group B Streptococcus, L. monocytogenes
  • เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เป็นไปได้ตามปัจจัยสาเหตุ (Predisposing factors):
    ดูรายละเอียดในหัวข้อ TREATMENT ตารางที่ CNS-01-02 แสดงชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นไปได้ตามปัจจัยสาเหตุ และแนวทางการใช้ยาต้านจุลชีพ empirical antibiotic

TREATMENTS

General Principle

  • Antibiotics:
    ⇒ กรณีเข้าได้กับ acute bacterial meningitis และไม่ทราบชนิดของจุลชีพก่อโรคควรให้ empiric antibiotic regimen รักษาเชื้อแบคทีเรีย (ตารางที่ CNS-01-02 และ CNS-01-03) ปรับชนิดของยา antibiotics หลังทราบผลตรวจชนิดและความไวของเชื้อ
  • Corticosteroids:
    ⇒ แนะนำ steroid เฉพาะกรณีสงสัยการติดเชื้อ S. pneumoniae เนื่องจากช่วยลดความพิการ และอัตราตายได้ ยาที่แนะนำ dexamethasone 0.15 mg/kg iv q 6 hours เริ่มให้ 15-20 นาทีก่อนเริ่มยาต้านจุลชีพโดยให้เป็นเวลา 2-4 วัน
    ⇒ พิจารณาให้ steroid ร่วมด้วยกรณีมีข้อบ่งชี้อื่น เช่น brain edema, vasculitis

Empiric Antibiotic Regimens

ตารางที่ CNS-01-02 แนวทางการเลือกใช้ Empiric antibiotic พิจารณาตามปัจจัยเสี่ยง และชนิดของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เป็นไปได้

ลักษณะผู้ป่วย เชื้อจุลชีพก่อโรคที่สำคัญ ยาต้านจุลชีพแนะนำ
ไม่มีโรคประจำตัว อายุ 16-50 ปี S. pneumoniae, N. meningitidis 3rd Cephalosporin
+/- vancomycin*
ไม่มีโรคประจำตัวอายุมากกว่า 50 S. pneumoniae, N. meningitidis, L. monocytogenes, S. agalactiae, aerobic Gram-negative bacilli (GNB) Ampicillin + 3rd Cephalosporin

+/- vancomycin*

หญิงมีครรภ์ หรือดื่มสุราเรื้อรัง อาจเกิดจาก L. monocytogenes Ampicillin + 3rd Cephalosporin

+/- vancomycin*

ได้รับสเตียรอยด์ หรือยากดภูมิ อาจเกิดจาก L. monocytogenes,
aerobic GNB
Ampicillin + 3rd Cephalosporin
+/- vancomycin*
Post-trauma meningitis S. pneumoniae, N. meningitidis, H. influenzae 3rd Cephalosporin
+/- vancomycin*
Post-basilar skull fracture S. pneumoniae, N. meningitidis, H. influenzae, S. pyogenes 3rd Cephalosporin
+/- vancomycin*
มีประวัติผ่าตัดทางสมองมีการใส่ drain น้ำไขสันหลัง อาจเกิดจาก MRSA, coagulase negative staphylococci, aerobic GNB ใน รพ. เช่น P. aeruginosa, A. baumannii Cefepime หรือ ceftazidime
หรือ
meropenem(4) + vancomycin
มีประวัติสัมผัสหมูดิบ หรือหูดับ อาจเกิดจาก S. suis PGS + 3rd Cephalosporin
+/- vancomycin*
มีประวัติไรอ่อนกัด เข้าพงหญ้า Rickettsial infection Doxycycline
หรือ
Azithromycin

 

* เนื่องจากอุบัติการณ์ของ Penicillin-resistant S. pneumoniae (PRSP) ในประเทศไทยยังค่อนข้างต่ำ จึงแนะนําให้ add vancomycin เฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงของ PRSP ขนาดยา vancomycin 20-25 mg/kg IV then 15-20 mg/kg IV q 12 h

ตารางที่ CNS-01-03 Common IV Antibiotic Dosages for Acute Bacterial Meningitis*

Antibiotics Dosage
Children > 1 month Adults
 Ceftriaxone 50 mg/kg every 12 hours 2 g every 12 hours
 Ceftriaxone 50 mg/kg every 6 hours 2 g every 4–6 hours
 Ceftazidime 50 mg/kg every 8 hours 2 g every 8 hours
 Cefepime 2 g every 12 hours 2 g every 8–12 hours
 Ampicillin 75 mg/kg every 6 hours 2–3 g every 4 hours
 Penicillin G 4 million units every 4 hours 4 million units every 4 hours
 Nafcillin and oxacillin 50 mg/kg every 6 hours 2 g every 4 hours
 Vancomycin† 15 mg/kg every 6 hours 10–15 mg/kg every 8 hours
 Meropenem 40 mg/kg every 8 hours 2 g every 8 hours
 Gentamicin and tobramycin 2.5 mg/kg every 8 hours 2 mg/kg every 8 hours
 Amikacin 10 mg/kg every 8 hours 7.5 mg/kg every 12 hours
 Rifampin 6.7 mg/kg every 8 hours 600 mg every 24 hours

 

* For neonatal dosages, see table Recommended Dosages of Selected Parenteral Antibiotics for Neonates.
† Renal function should be monitored.

PREVENTION

Vaccination

ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ bacterial meningitis จากเชื้อ 4 ชนิด

  • Pneumococcal vaccine ป้องกันการติดเชื้อ S. pneumoniae
    ⇒ ปัจจุบันในประเทศไทยมี 2 ชนิดคือ
    – Pneumococcal conjugate vaccine (PCV10, PCV13 และ PCV15) ครอบคลุมเชื้อ 10, 13 และ 15 สายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงในเด็กและผู้ใหญ่ และ
    – Pneumococcal polysaccharide vaccine (PPSV23) ครอบคลุม 23 สายพันธุ์ ที่มักก่อให้เกิดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง
    ⇒ ข้อบ่งชี้
    – เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ทุกราย: แนะนำให้ฉีด PCV10/13/15 โดยฉีดจำนวน 4 เข็ม ในเด็กอายุ 2, 4, 6 และ 12-15 เดือน
    – ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยอายุ 19-64 ปีที่มีข้อบ่งชี้ได้แก่ COPD, chronic kidney disease, diabetes, cirrhosis, anatomic or functional asplenia และกลุ่มโรคที่มี severe immune suppressive หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันแนะนำให้ฉีด PCV15 ในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสมาก่อน ตามด้วย PCV23 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน เอกสารแนบ) ..\..\1_Citations\Vaccine\vaccination adult.pdf
  • Haemophilus influenzae Type b (Hib) Vaccine ป้องกันการติดเชื้อจาก H. influenzae
    ⇒ ข้อบ่งชี้
    – เด็กเล็ก: Hib vaccine dose is 0.5 mL IM ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือน ตามด้วย booster dose ที่อายุ 12-15 เดือน
    – เด็กโต และผู้ใหญ่ anatomic or functional asplenia หรือให้ prophylaxis ก่อนตัดม้าม (elective splenectomy) ในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนอย่างน้อย 14 วันก่อนผ่าตัด
    – ผู้ป่วย hematopoietic stem cell transplantation: ให้ 3-dose regimen prophylaxis 6-12 เดือน หลัง transplantation แต่ละ dose ให้ห่างกัน ≥4 สัปดาห์
  • Quadrivalent meningococcal vaccine ป้องกันการติดเชื้อจาก N. meningitidis
    ⇒ ยังไม่มีคำแนะนำให้การฉีดวัคซีนนี้ในคนไทย เนื่องจากวัคซีนที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุม serotype B meningococcal meningitis ที่มีในประเทศไทย อย่างไรก็ตามให้พิจารณาดังนี้
    – ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดเปนประจํา เช่นตะวันออกกลาง
    – แนะนำการฉีดวัคซีนในผู้ป่วย Anatomic functional asplenia รวมทั้ง sickle cell disease (สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2661)

Chemoprophylaxis

  • ข้อบ่งชี้การได้รับยาป้องกัน: ผู้มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย ได้แก่ day care contacts หรือ medical personnel ที่สัมผัส oral secretions ของผู้ป่วย
  • สูตรยาป้องกัน:
    ⇒ Meningococcal meningitis chemoprophylaxis: ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
    – Rifampin 600 mg PO q 12h for 4 doses (for children > 1 month, 10 mg/kg; for children < 1 month, 5 mg/kg)
    – Ceftriaxone 250 mg IM for 1 dose (for children < 15 years, 125 mg)
    – Fluoroquinolone (ciprofloxacin หรือ levofloxacin 500 mg หรือ ofloxacin 400 mg) PO for 1 dose (เฉพาะผู้ใหญ่)

OTHER RESOURCES

References

1. ภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์. Central Nervous System Infections. Handbook of Infectious Disease [Book Editors: รุจิภาส สิริจตุภัทร ภาคภูมิ พุ่มพวง วลัยพร วังจันดา]. 2nd. กรุงเทพมหานคร : สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2021, pp. 209-214.

2. National Center for Immunization and Respiratory Diseases. Bacterial Meningitis. Centers for Disease Control and Prevention: Meningitis. [Online] July 15, 2021. [Cited: November 29, 2023.] https://www.cdc.gov/meningitis/bacterial.html.

3. J. Runde, Fatima Anjum and John W. Hafner. Bacterial Meningitis. National Library of Medicine, National Center for Biotechnology Information. [Online] August 8, 2023. [Cited: November 27, 2023.] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470351/.

4. ohn E. Greenlee. Acute Bacterial Meningitis. MSD Manual Professional version. [Online] November 2022. [Cited: November 29, 2023.] https://www.msdmanuals.com/professional/neurologic-disorders/meningitis/acute-bacterial-meningitis#:~:text=Acute%20bacterial%20meningitis%20is%20rapidly,given%20as%20soon%20as%20possible..

5. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรค สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (Recommended Adult and Elderly Immunization Schedule). ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร : s.n., พ.ศ. 2561.

M-06-CNS-01 Meningitis image