[seopress_breadcrumbs]

PERITONITIS

Introduction

Peritonitis คือการติดเชื้อภายในเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ซึ่งเป็นเยื่อบุเยื่อหุ้มและปกป้องอวัยวะภายในช่องท้อง ส่วนใหญ่พบเป็นภาวะแทรกซ้อนเมื่อมีการแตกทะลุของอวัยวะภายในช่องท้อง รองลงมาพบเป็นการติดเชื้อแพร่ผ่านมาจากอวัยวะภายในช่องท้องที่ติดเชื้อโดยไม่มีการแตกทะลุ หรือติดเชื้อปนเปื้อนขณะทำการล้างไตทางช่องท้อง มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 ขึ้นกับชนิดของเชื้อก่อโรค

CLINICAL

ลักษณะการติดเชื้อของเยื่อบุและน้ำในช่องท้อง 4 ลักษณะ

1. Primary peritonitis
การติดเชื้อที่แพร่ผ่านทางเลือดหรือน้ำเหลือง โดยไม่มีการแตกทะลุของลำไส้หรืออวัยวะในช่องท้อง

2. Secondary peritonitis
การติดเชื้อที่มาจากการแตกทะลุของลำไส้หรืออวัยวะในช่องท้อง

3. Tertiary peritonitis
การติดเชื้อต่อเนื่องหรือเป็นซ้ำ จากการรักษาที่ไม่หายขาด หรือเกิดในกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง

4. Peritoneal dialysis-associated peritonitis
การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้อง

 

COMMON PATHOGENS

COMMON PATHOGENS

แตกต่างกันตามลักษณะการติดเชื้อ ดูรายละเอียดในหัวข้อ TREATMENT

TREATMENTS

แนวทางการรักษาตามลักษณะการติดเชื้อ

PRIMARY PERITONITIS

CLINICAL
ติดเชื้อของ ascites ที่แพร่ผ่านทางเลือดหรือน้ำเหลือง โดยไม่มีการแตกทะลุของอวัยวะในช่องท้อง ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วย cirrhosis และ nephrotic syndrome รองลงมาคือ advance liver disease, GI hemorrhage, pelvic inflammatory disease และภูมิคุ้มกันบกพร่อง

COMMON PATHOGEN
Monomicrobial เชื้อชนิดเดียว ส่วนใหญ่เกิดจาก aerobic gram-negative enteric bacilli ได้แก่ E. coli และ K. pneumoniae ส่วนน้อยมีรายงานพบเชื้อ gram-positive cocci เช่น S. pneumoniae, Staphylococcus spp. และ Enterococcus spp. และเชื้อ m. tuberculosis ในผู้ป่วย disseminated tuberculosis

TREATMENT

  • 3rd generation cephalosporins นาน 5 วัน
    Empirical Treatment: Cefotaxime 2g IV q 8h
    Alternative regimen: Ceftriaxone 1g IV once daily*
  • กรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยา penicillin อาจพิจารณาให้ยากลุ่ม fluoroquinolone
  • หากมีติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย ให้ยานาน 7-14วัน

* ไม่แนะนำให้ใช้ ceftriaxone เป็นยาตัวแรก สำหรับผู้ป่วยที่มี albumin ต่ำ เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาที่จำเป็นต้องจับโปรทีนในการออกฤทธิ์ ส่งผลให้การรักษาด้วยยา ceftriaxone อาจออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่เมื่อเปรียบเทียบกับยา cefotaxime

SECONDARY PERITONITIS

CLINICAL
การติดเชื้อที่เป็นผลข้างเคียงจากการแตกทะลุของลำไส้หรืออวัยวะในช่องท้อง ที่พบบ่อยคือ appendicitis peptic ulcers หรือ colonic diverticulitis หรือเกิดจาก trauma เป็นต้น

COMMON PATHOGEN
Polymicrobial มากกว่า 1 ชนิด และเป็นเชื้อประจำถิ่นในทางเดินอาหาร
– Stomach: streptococci และ candida spp.
– Small bowel: enteric gram-negative bacilli, enterococci และ anaerobes
– Colon: anaerobes, enterococci และ aerobic gram-negative bacteria

TREATMENT

  • ผ่าตัด เพื่อกำจัดแหล่งเชื้อโรคและป้องกันการเกิดซ้ำ
  • Empirical Treatment:
    – Community-acquired: ครอบคลุมเชื้อ aerobic gram-negative bacilli,enteric gram-positive streptococci และ ครอบคลุม anaerobes กรณีมีการรั่วของ distal small bowel เป็นต้นไป หรือมีการรั่วของ proximal small bowel แต่มี obstruction หรือ ileus ร่วมด้วย โดยให้ 3rd generation cephalosporins ± metronidazole หรือ cefoxitin monotherapy
    – Hospital-acquired: ให้ meropenem หรือ imipenem หรือ piperacillin/tazobactam
  • หากควบคุมแหล่งติดเชื้อได้หลังผ่าตัดให้ยานาน 4-7วัน

TERTIARY PERITONITIS

CLINICAL
การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องที่เกิดต่อเนื่องหรือเป็นซ้ำ (persistent or recurrent infections) จากการรักษาที่ไม่หายขาด หรือเกิดในกลุ่ม immunocompromised patient มักเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล และเกิดจากเชื้อที่อดื้อต่อยาต้านจุลชีพ ทำให้มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60%

COMMON PATHOGEN
Monomicrobial เชื้อชนิดเดียว ส่วนใหญ่เป็นเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล เช่น P. aeruginasa, A. baumanii, enterococci spp. หรือ อาจพบเชื้อรา

TREATMENT

  • ผ่าตัด หรือใส่สายระบายสารน้ำติดเชื้อ เพื่อกำจัดแหล่งเชื้อโรคและป้องกันการเกิดซ้ำ
  • Antibiotic: พิจารณาตามการดำเนินโรคของผู้ป่วย ยาที่เคยได้รับ และผลเพาะเชื้อก่อนหน้านี้ และพิจารณาปรับการรักษาตามผลการตรวจเพาะเชื้อจาก ascites
  • ระยะเวลาขึ้นกับ severity และผลการกำจัดแหล่งเชื้อโรค อาจนานถึง 14 วันหากจำเป็น
  • พิจารณา restoring immunological imbalance ตามความเหมาะสม

PERITONEAL DIALYSIS-ASSOCIATED PERITONITIS

CLINICAL
การติดเชื้อที่เกิดในผู้ป่วยที่มีสาย peritoneal catheter สำหรับการฟอกไต (peritoneal dialysis)ที่ เกิดจากการปนเปื้อนของแบคทีเรียที่ผิวหนังที่ทำให้เกิดโรคในระหว่างการใส่-เปลี่ยนสาย หรือการติดเชื้อที่บริเวณ exit-site หรือ tunnel infection เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยและร้ายแรงของ PD และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วย PD มากกว่า 15%

COMMON PATHOGEN
Monomicrobial เชื้อชนิดเดียว ส่วนใหญ่เป็น Gram-positive เช่น Coagulase-negative staphylococci, S. aureus หรือ Streptococci เชื้อที่อาจพบได้แต่น้อย ได้แก่ E. coli หรือ เชื้อรา Candida spp.

TREATMENT

  • intraperitoneal antibiotic ได้แก่ cefazolin และ ceftazidime
  • กรณี sepsis แนะนำให้ทาง IV*
  • ข้อบ่งชี้เอาสายออก ได้แก่ ไม่ตอบสนองต่อการรักษา, การกลับมาเป็นซ้ำ และเกิดจากเชื้อรา

* พิจารณาสูตรยา Empirical regimen ครอบคลุม Gram-positive and Gram-negative organisms, รวม Pseudomonas spp. สำหรับ Gram-positive organism ให้พิจารณาจากข้อมูลความชุกและ susceptibility ของเชื้อที่พบในโรงพยาบาล (hospital-specific antibiogram) ทั้งนี้ พิจารณาเลือกใช้ first-generation cephalosporin หรือ vancomycin ตามความเหมาะสม สำหรับเชื้อ Gram-negative organism พิจารณาใช้ 3rd generation cephalosporin

แนวทางการรักษาตามการแปลผล ascites

Type of infection Cells in ascites Ascites bacterial culture Treatment
 Primary peritonitis
  • Spontaneous bacterial peritonitis (SBP)
 Neutrophil count ≥250 cell/mm3 Positive
(monomicrobial)
Antibiotic
  • Culture-negative neutrocytic ascites (CNNA)
Neutrophil count ≥250 cell/mm3 Nagative Antibiotic
  • Monomicrobial non-neutrocytic bacterascites (MNB)
Neutrophil count <250 cell/mm3 Positive
(monomicrobial)
If symptomatic:
– Antibiotic
– Observe or repeat abdominal paracentesis
  • Tuberculous peritonitis
Lymphocyte pleocytosis

Protein >3 g/dl

Negative for bacteria
(AFB/PCR/mycobacterial
Culture may be positive)
Anti-TB agents
 Secondary peritonitis
  • Secondary peritonitis
Neutrophil count ≥250 cell/mm3 Positive
(Polymicrobial)
Antibiotic และ surgery
 Peritoneal dialysis-associated peritonitis
  • Peritoneal dialysis-associated peritonitis
WBC >100/µl + PMN cells > 50%) Positive
(Monomicrobial)
Antibiotic
– intraperitoneal
– IV กรณี sepsis
พิจารณาเอาสายออกถ้ามีข้อบ่งชี้

 

 

 

OTHER RESOURCES

OTHER RESOURCES

Peritonitis Treatments: https://www.news-medical.net/health/Peritonitis-Treatments.aspx

References

[1] Shyam Gelot and Engi Nakhla, “Intra-abdominal Infections in Adults,” US Pharm, vol. 41, no. 4, pp. HS5-HS12, 2016.

[2] Antimicrobial Subcommittee, University of Michigan, “Antimicrobial Subcommittee Approval: 1,” December 2022. [Online]. Available: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.med.umich.edu/asp/pdf/adult_guidelines/Intra-ab_ADULT.pdf. [Accessed 19 November 2023].

[3] ศักรินทร์ จิรพงศธร, “Spontaneous bacterial peritonitis,” สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทยสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย, 10 มีนาคม 2564. [Online]. Available: https://thasl.org/spontaneous-bacterial-peritonitis/. [Accessed 21 พฤศจิกายน 2566].

[4] วลัยพร วังจินดา, “Intra-abdominal Infections,” in Handbook of Infectious Disease, 2nd ed., Bangkok, สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2021, pp. 155-162.

[5] Christopher F. Carpenter and Nick Gilpin, “Peritonitis, Spontaneous Bacterial & Secondary,” in The Johns Hopkins POC-IT ABX Guide, J. G. B. K. D. C. K. a. B. S. Pual G. Auwaerter, Ed., Baltimore, Maryland: The John Hopskins University, 2020-2022.

[6] Cheuk-Chun Szeto and Philip Kam-Tao, “Peritoneal Dialysis–Associated Peritonitis,” Clin J Am Soc Nephrol, vol. 14, no. 7, p. 1100–1105, 2019.

M-04-GI-02 peritonitis image