INTRAVASCULAR CATHETER-RELATED INFECTION
Introduction
การติดเชื้อในกระแสเลือดถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังการใส่สายสวนในหลอดเลือดดำ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ความเสี่ยงของการติดเชื้อขึ้นกับชนิดของสายสวน ตำแหน่งและระยะเวลาที่ใส่สายสวน ประเภทของการรักษา (ให้สารอาหาร ไขมันหรือเลือด) และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของผู้ป่วย
CLINICAL
คำจำกัดความ
Catheter colonization
ผลเพาะเชื้อจาก catheter tip, subcutaneous segment หรือ hub ให้ผลบวกอย่างน้อย 1 ชนิด
Exit site infection
ลักษณะแดง กดเจ็บ ภายในระยะ 2 ซม. จากตำแหน่ง exit site
Tunnel infection
ลักษณะแดง กดเจ็บ บริเวณ tunnel ระยะเกิน 2 ซม. จากตำแหน่ง exit site
Bloodstream infection
ผลเพาะเชื้อจาก peripheral vein ให้ผลบวกอย่างน้อย 1 ขวด ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- ผลเพาะเชื้อจาก catheter tip ให้ผลบวกเชื้อเดียวกันอย่างน้อย 15 cfu
- ระยะเวลาของผลบวกจากเลือดที่เก็บจาก catheter hub ไวกว่า peripheral vein อย่างน้อย 2 ชั่วโมง (differential time to positivity)
- ถ้าพบเชื้อ Corynebacterium, Bacillus, Micrococcus อาจไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อจริง เชื้อดังกล่าวควรมีผลบวกจาก peripheral vein อย่างน้อย 2 ขวด
การวินิจฉัย
เมื่อสงสัยการติดเชื้อจากสายสวนหลอดเลือด
- ส่งเพาะเชื้อจากเลือดก่อนให้ยาต้านจุลชีพ โดยเก็บจาก peripheral vein อย่างน้อย 1 ขวดร่วมกับจาก catheter hub อย่าง น้อย 1 ขวด พร้อมกัน
- หากไม่สามารถเจาะเลือดจาก peripheral vein ได้ให้ส่งเลือดจาก catheter hub คนละตำแหน่งอย่างน้อย 2 ขวด
- ถ้าจำเป็นต้องนำสายสวนหลอดเลือดออก ให้ส่ง catheter tip ยาว 5 ซม.เพื่อเพาะเชื้อ
ถ้าพบ exudate ที่ตำแหน่ง exit site ควร swab เพื่อส่งย้อม Gram stain และเพาะเชื้อ
COMMON PATHOGENS
COMMON PATHOGENS
เชื้อก่อโรคหลักที่พบได้ลักษณะการใส่สายสวน | |
• Percutaneously inserted, non-cuffed catheter หรือ short-term CVC |
Coagulase-negative staphylococci S. aureus Candida spp. และ Enteric Gram-negative bacilli |
• Surgically implanted CVC หรือ long-term CVC และ PICC |
Coagulase-negative staphylococci Enteric Gram-negative bacilli S. aureus และ P. aeruginosa |
• สายสวนตำแหน่ง Femoral vein | มีโอกาสติดเชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae และ Enterococci |
เชื้อก่อโรคอื่นๆ | |
• มีรายงานเชื้อก่อโรคที่พบได้ | Enterococci Acinetobacter spp. Stenotrophomonas maltophilia Burkholderia cepacian complex |
TREATMENTS
TREATMENT
General Principle
- การรักษาหลักประกอบด้วยการพิจารณานำสายสวนออกเมื่อมีข้อบ่งชี้ และการให้ยาต้านจุลชีพ (systemic antibiotic)
- การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ พิจารณาตามชนิดของเชื้อก่อโรคเป็นหลัก (กรณีที่ยังไม่ทราบชนิดของเชื้อ และมีความจำเป็น เช่นผู้ป่วยมีอาการหนัก ให้พิจารณาใช้ Empiric therapy และปรับยาชนิดของยาเมื่อทราบชนิดเชื้อก่อโรค และความไวต่อยา (Susceptibility)
- พิจารณาใช้ Antibiotic Lock Therapy รักษาร่วม กรณีที่ไม่สามารถเอาสายสวนออกได้ หรือ long-term catheter
Empiric Therapy: การให้ยาต้านจุลชีพเบื้องต้น
การเลือกยาต้านจุลชีพเบื้องต้นที่ครอบคลุมเชื้อก่อโรคตามตำแหน่งของสายสวน ชนิดของยาขึ้นกับข้อมูลระบาดวิทยา และอีตราการติดเชื้อ (antibiogram) ของโรงพยาบาล
ข้อพิจารณาการเลือกใช้ยา | Recommended antibiotic |
• ยาที่ออกฤทธิ์ต่อ Gram-positive bacteria ให้ผู้ป่วยทุกราย | Preferred: – Vancomycin Alternative: – Daptomycin |
• แนะนำให้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อ Gram-negative bacteria ในกรณีดังต่อไปนี้ – ระบาดวิทยาในโรงพยาบาลพบสาเหตุจากเชื้อ Gram-negative bacteria มาก – อาการรุนแรง หรืออยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต – มีภาวะ neutropenia – ใส่สายสวนบริเวณ femoral vein – มีการติดเชื้อหรือ colonization จากเชื้อ Gram-negative bacteria มาก่อน |
Preferred: เลือกข้อใดข้อหนึ่ง – Cefepime – Ceftazidime – Piperacillin-tazobactam – Carbapenems / Meropenem โดยอาจให้ร่วมกับ aminoglycosides |
• แนะนำให้ยาต้านเชื้อรา ในกรณีมีอาการรุนแรงร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ – ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ – ได้ broad-spectrum antibiotic เป็นเวลานาน – ผู้ป่วย Hematologic malignancy หรือ ปลูกถ่ายอวัยวะ หรือไขกระดูก – ใส่สายสวนบริเวณ femoral vein – มี colonization จากเชื้อ Candida หลายตำแหน่ง |
Preferred: เลือกข้อใดข้อหนึ่ง – Echinocandin – Fluconazole (กรณีไม่ประวัติได้รับยากลุ่ม Triazoles ภายใน 3 เดือน) |
Pathogen-directed: การให้ยาต้านจุลชีพที่จำเพราะตามชนิดของเชื้อจุลชีพก่อโรค
- ใช้ยาต้านจุลชีพที่จำเพาะตามชนิดและผลความไวยาของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ ตารางที่ M03-01
- ระยะเวลาในการให้ยาต้านจุลชีพ นับจากผลเพาะเชื้อในเลือดเป็นลบเป็นวันที่ 1
Gram-positive cocci
เชื้อก่อโรค | ยาหลัก | ยาทางเลือก | ระยะเวลาการรักษา |
Staphylococcus aureus | |||
– MSSA | Cloxacillin ขนาดสูง | Cefazolin ขนาดสูง หรือ vancomycin | • ให้ยานาน 4-6 สัปดาห์ร่วมกับนำสายสวนออก • กรณีต่อไปนี้สามารถให้ยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ได้ร่วมกับนำสายสวนออก
• ใน long-term catheter หากไม่สามารถนำสาย สวนออกได้แนะนะให้ antibiotic lock therapy ร่วมด้วย นาน 4 สัปดา |
– MRSA | Vancomycin | Daptomycin, Linezolid, Co-trimoxazole (ถ้าไว) |
|
Coagulase-negative Staphylococci | |||
– MR-CoNS | Cloxacillin ขนาดสูง | Cefazolin ขนาดสูง, vancomycin หรือ Co-trimoxazole (ถ้าไว) |
ถ้านำสายสวนออก ให้ยานาน 5-7 วัน • ถ้าไม่ได้นำสายสวนออก ให้ยานาน 10-14 วัน ร่วมกับ antibiotic lock therapy |
– MR-CoNS | Vancomycin | Daptomycin หรือ | |
Enterococci | |||
– Ampicillin susceptible | Ampicillin | Vancomycin | • ให้ยานานอย่างน้อย 7-14 วัน • หากไม่ได้นำสายสวนออก แนะนำให้ antibiotic lock therapy ร่วมด้วย |
– Ampicillin resistant | Vancomycin | Linezolid หรือ Daptomycin |
|
– Vancomycin resistant | Linezolid หรือ Daptomycin |
Gram-negative bacilli
เชื้อก่อโรค | ยาหลัก | ระยะเวลาการรักษา |
• ขึ้นกับชนิดและผลความไวยา | ||
– Non-MDR | 3rd หรือ 4th generation cephalosporins, Betalactam-betalactamase inhibitors, Fluoroquinolones | • ให้ยานานอย่างน้อย 7-14 วัน • ใน long-term catheter หากไม่สามารถนำสาย สวนออกได้แนะนะให้ antibiotic lock therapy ร่วมด้วย นาน 10-14 วัน |
– MDR | Carbapenems, piperacillin-tazobactam± Aminoglycoside |
|
– Carbapenem-resistant หรือ XDR | Colistin ร่วมกับยาอื่นตามผลความไวยา | |
– S. maltophilia | Co-trimoxazole หรือ Levofloxacin |
|
– B. cepacia | Co-trimoxazole หรือ Carbapenems |
Fungi
เชื้อก่อโรค | ยาหลัก | ยาทางเลือก | ระยะเวลาการรักษา |
Candida spp. | |||
– Candida spp | Echinocandin or fluconazole (ถ้าไว) | Conventional หรือ liposomalamphotericin B |
ให้ยานานอย่างน้อย 14 วันหลังจากผลเพาะเชื้อจากเลือดเป็นลบ |
Antibiotic Lock Therapy (ALT)
การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ด้วยวิธี Antibiotic Lock Therapy มีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกี่ยวข้องกับสายสวนหลอดเลือด และไม่สามารถนำสายสวนหลอดเลือดออกได้ เป็นการรักษาเชิงป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด
แนวปฏิบัติการใช้ ALT
- ในกรณีติดเชื้อในกระแสเลือด (bloodstream infection) แนะนำใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือด (systemic antibiotics) ไม่แนะนำรักษาด้วยวิธี ALT เพียงวิธีเดียว ใช้เวลานาน 10-14 วัน โดยสอดคล้องไปกับระยะเวลาการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด
- ใน Long-term catheter colonization ด้วยเชื้อ Coagulase-negative Staphylococci หรือ Gram-negative bacteria ใช้ Antibiotic lock monotherapy นาน 10-14 วัน
- ไม่มีประโยชน์สำหรับการติดเชื้อนอกหลอดสายสวน (extraluminal)
- ควรนำสายสวนออก ถ้ารักษาด้วยวิธี ALT แล้วยังมีอาการหลังให้ยาปฏิชีวนะนานกว่า 36 ชม. หรือ พบเชื้อขึ้นหลังให้ยานานกว่า 72 ชม.
- ระยะเวลาน้อยสุดที่ควรให้ยาค้างไว้ คือ 8-12 ชม.ต่อวัน และควรให้ใหม่ทุก 24 ชั่วโมง แต่สำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แนะนำให้ใหม่ในทุกครั้งของการฟอกเลือด
Contraindication
- มีประวัติ heparin-induced thrombocytopenia (HIT) สำหรับ ALT-containing heparin ยกเว้น Gentamicin lock ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ heparin
- มีประวัติแพ้ต่ออุปกรณ์ ALT
- ข้อห้ามทางศาสนา กรณีไม่ให้ใช้ pork components ที่เป็นกระบวนการผลิต heparin ยกเว้น Gentamicin lock ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ heparin
- มี Catheter tunnel หรือ exit site infect
ยาปฏิชีวนะสำหรับ ALT
ยาปฏิชีวนะต้องเข้ากันได้กับ heparin หรือสารที่ให้ร่วม (citrate, EDTA) และมีความคงสภาพยาวนาน ความเข้มข้นของสารละลายที่แนะนำในตารางที่ M03-02
ตารางที่ M03-02 ความเข้มข้นของสารละลาย Antibiotic lock therapy ที่แนะนำ
ยาต้านจุลชีพ | ความเข้มข้น (mg/mL) | Heparin หรือ saline (IU/mL) |
Vancomycin | 2 | 10 |
2.5 | 2,500 หรือ 5,000 | |
5 | 0 หรือ 5,000 | |
Ceftazidime | 0.5 | 100 |
Cefazolin | 2.5 | 2,500 หรือ 5,000 |
Ciprofloxacin | 0.2 | 5,000 |
Gentamicin | 1 | 2,500 |
Ampicillin | 10 | 10 หรือ 5,000 |
Ethanol | 70% | 0 |
ข้อบ่งชี้ในการนำสายสวนหลอดเลือดออก
ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ | |
Uncomplicated infection | |
Short-term catheter ที่ติดเชื้อดังต่อไปนี้ | Long-term catheter ที่ติดเชื้อดังต่อไปนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Complicated infection (ทั้ง short-term และ long-term catheter) | |
|
|
|
|
|
|
* พิจารณาการตรวจติดตามหาภาวะแทรกซ้อนด้วยวิธี Echocardiogram | |
Low virulent organism (รักษายาก) เช่น Bacillus, Micrococcus, Proprionibacterium |
ข้อบ่งชี้ในการหาภาวะแทรกซ้อนโดย Echocardiogram
ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ | |
ผู้ป่วยที่ใส่ Prosthetic valve หรือ intravascular devices | |
ผลเพาะเชื้อในเลือดยังให้ผลบวกเกิน 72 ชั่วโมงหลังให้ยาต้านจุลชีพ | |
ตรวจร่างกายสงสัยภาวะ endocarditis เช่น new murmur หรือ embolic phenomenon | |
ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบลักษณะของ septic pulmonary emboli | |
ผู้ป่วย S. aureus bloodstream infection ที่จะให้ยาต้านจุลชีพนานน้อยกว่า 4-6 สัปดาห์ |
OTHER RESOURCES
OTHER RESOURCES
Reference:
1. Mermel LA, Allon M, Bouza E, et al. Clinical practice guidelines for the diagnosis and management of intravascular catheter-related infection: 2009 Update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect Dis. 2009 Jul 1;49(1):1-45.
2. อนุภพ จิตต์เมือง. Catheter-related bloodstream infections. ใน: รุจิภาส สิริจตุภัทร, ภาคภูมิพุ่มพวง, วลัยพร วังจินดา (บรรณาธิการ). Handbook of Infectious Disease. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; พ.ศ. 2564. หน้า 138-145.
3. จาฏพัจน์ เหมพรรณไพเราะ, “Antibiotic lock therapy,” ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, 2564.
4. อรศรี วิทวัสมงคล, “การติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง,” 2023. [Online]. Available: https://cimjournal.com/confer-update/blood-stream-infection-cabsi/. [Accessed 09 November 2023].