[seopress_breadcrumbs]

PROPHYLAXIS ANTIBIOTIC IN PEDIATRIC SURGERY

Introduction

การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดในผู้ป่วยเด็ก มีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อบริเวณที่ตำแหน่งแผลผ่าตัดภายหลังการผ่าตัด (surgical site infection)

CLINICAL

GENERAL PRINCIPLE

  • การติดเชื้อแผลผ่าตัด (surgical site infection: SSI) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ประมาณร้อยละ 2 ของการผ่าตัด ทำให้จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมได้แก่ กระบวนการให้ความรู้และกำกับติดตามการปฏิบัติตามแนวทางนี้แก่ศัลยแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อ
  • แนะนำการให้ยาปฏิชีวนะก่อนเริ่มการผ่าตัดในหัตถการที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ หรือหัตถการที่การติดเชื้อส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวตามมา เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะเทียมในการผ่าตัดหัวใจ
  • การผ่าตัดที่มีข้อบ่งชี้จากการติดเชื้อของอวัยวะภายใน เช่น ไส้ติ่งแตก การให้ยาปฏิชีวนะมีจะวัตถุประสงค์ในการรักษามากกว่าการป้องกันการติดเชื้อ
  • การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้ค่ารักษาเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยา และโอกาสการเกิดเชื้อดื้อยา
  • หลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนคำแนะนำการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดในเด็กมีน้อย คำแนะนำส่วนใหญ่จึงเป็นไปในแนวทางเดียวกับคำแนะนำในผู้ใหญ่

COMMON PATHOGENS

INDICATIONS

การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้พิจารณาจากลักษณะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของแผลผ่าตัดดังนี้

1. แผลสะอาด (clean wound)
  • แผลผ่าตัดที่มีการเตรียมการล่วงหน้า (elective surgery) โดยแผลผ่าตัดไม่ได้ผ่าผ่านเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ไม่ผ่านระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ระหว่างทำหัตถการที่ไม่มีละเมิดมาตรการปลอดเชื้อ (break in aseptic technique) มีการเย็บปิดแผลหลังผ่าตัด (primary closure) โดยไม่ใส่ท่อระบายหรือระบายแบบเปิด (open drainage)
  • บาดแผลกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 1) การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไม่พบว่าได้ประโยชน์ ยกเว้นกรณีที่การติดเชื้ออาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาว เช่น การผ่าตัดใส่อวัยวะเทียม (การปลูกถ่ายลิ้นหัวใจหรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อ) การผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขความผิดปกติทางกายวิภาค การผ่าตัดเปิดช่องท้องในทารกแรกเกิด และการผ่าตัดระบบประสาทและสมอง
2. แผลสะอาด-ปนเปื้อน (clean-contaminated wound)
  • แผลผ่าตัดที่เปิดผ่านระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ หรือระบบสืบพันธุ์ โดยมีการป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนรุนแรงได้ ซึ่งรวมการผ่าตัดเร่งด่วนฉุกเฉินที่ทำในหัตถการปราศจากเชื้อ
  • ความเสี่ยงของการติดเชื้อหลังผ่าตัดกลุ่มนี้ ในภาพรวมพบได้ประมาณร้อยละ 3-15 ข้อบ่งชี้ในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อในเด็กของหัตถการที่ก่อให้เกิดบาดแผลกลุ่มนี้ มีดังนี้
    – หัตถการของทางเดินอาหารทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการอุดกั้น เมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม H2 receptor antagonists หรือ proton pump inhibitor หรือในผู้ป่วยที่มีวัสดุถาวร (permanent foreign body) อยู่ในระบบทางเดินอาหาร
    – การผ่าตัดทางเดินน้ำดี ตัวอย่างเช่น การอุดกั้นทางเดินน้ำดีจากนิ่ว
    – การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการใส่เครื่องมือในผู้ป่วยที่พบแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriuria) หรือมีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ (obstructive uropathy)
3. แผลปนเปื้อน (contaminated wound)
  • แผลผ่าตัดที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หรือบาดแผลสดเปิดที่มีการละเลยกระบวนการปราศจากเชื้อ หรือพบการรั่วไหลในระบบทางเดินอาหารที่เห็นด้วยตา การผ่าตัดเปิด
  • อวัยวะภายในเพื่อแก้ไขความพิการแต่กำเนิดในทารกแรกเกิด บาดแผลทะลุ (penetrating trauma) ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่เกิน 4 ชั่วโมง การเปิดแผลผ่าตัด (incision) ที่มีการอักเสบเฉียบพลันไม่เป็นหนอง (acute non-purulent inflammation)
  • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบาดแผลกลุ่มนี้พบประมาณร้อยละ 15 การให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อเพื่อทำหัตถการในบาดแผลกลุ่มนี้มีความเหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการอักเสบเฉียบพลันไม่เป็นหนองหรือการอักเสบของอวัยวะภายใน เช่น ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่ไม่ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ในกรณีที่การอักเสบนั้นมีการดำเนินโรคต่อเนื่องจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ให้พิจารณาปรับการให้ยาปฏิชีวนะจากเพื่อป้องกันเป็นเพื่อการรักษา
4. แผลสกปรกและแผลติดเชื้อ (Dirty and infected wound)
  • แผลผ่าตัดผ่านบาดแผลทะลุที่เกิดขึ้นเกิน 4 ชั่วโมง บาดแผลที่พบเนื้อตาย มีลักษณะทางคลินิกของการติดเชื้อ บาดแผลทะลุของอวัยวะภายใน (เช่น ไส้ติ่งแตก) กระดูกหักที่มีบาดแผลเปิด (compound fracture) บาดแผลฉีกขาดจากการถูกสัตว์หรือมนุษย์กัดนานกว่า 12 ชั่วโมง
  • การให้ยาปฏิชีวนะมีวัตถุประสงค์ในการรักษามากกว่าเพื่อป้องกัน อัตราการติดเชื้อในบาดแผลกลุ่มนี้สูงถึงร้อยละ 40 การเลือกยาปฏิชีวนะหลังการผ่าตัดให้พิจารณาจากผลการแยกเชื้อที่ได้ก่อนผ่าตัด

TREATMENTS

ANTIBIOTIC PROPHYLAXIS RECOMMENDATIONSPATHOGENS

หลักการสำคัญของการใช้ปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดในผู้ป่วยเด็ก

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มยาปฏิชีวนะ
การให้ยาปฏิชีวนะอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อให้ยาถูกชนิดและให้ในระยะเวลาที่เหมาะสมโดยมีจุดประสงค์ให้ระดับยาในเนื้อเยื่อสูงเพียงพอในการลดจำนวนแบคทีเรียคือภายใน 1-2 ชั่วโมงก่อนลงมีด จึงจะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ สำหรับยาปฏิชีวนะที่ใช้เวลายาวนานในการออกฤทธิ์ เช่น glycopeptides (vancomycin) หรือ fluoroquinolone ควรเริ่มยาภายใน 120 นาทีก่อนลงมีด

ช่วงเวลาและขนาดในการให้ยาปฏิชีวนะ
ขนาดของยาปฏิชีวนะในเด็กให้คำนวณตามน้ำหนัก โดยที่ขนาดสูงสุดไม่เกินขนาดสูงสุดในผู้ใหญ่ โดยทั่วไปการให้ยาเพียงครั้งเดียวเพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อโดยระยะเวลาในออกฤทธิ์ของยาไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมงหลังการทำหัตถการ การให้ยาเพิ่มระหว่างการผ่าตัดอาจมีความจำเป็นกรณีที่ระยะเวลาของการผ่าตัดนานเกินกว่า 2 เท่าของค่าครึ่งชีวิตยา หรือพบการเสียเลือดมากระหว่างการผ่าตัด ( เช่น >1,500 มิลลิลิตรในผู้ใหญ่) ตัวอย่างเช่น cefazolin ควรให้ทุก 3-4 ชั่วโมงหากมีการผ่าตัดที่ยาวนานหรือในกรณีที่มีการเสียเลือดมาก การให้ยาปฏิชีวนะหลังการผ่าตัดไม่แนะนำในหัตถการสะอาดและหัตถการ สะอาด-ปนเปื้อนแม้มีการใส่สายระบาย (drain) ก็ตาม

ชนิดของยาปฏิชีวนะที่แนะนำให้ใช้
หลักการเลือกยาปฏิชีวนะ ให้พิจารณาจากชนิดของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อระหว่างและหลังการทำหัตถการโดยใช้รูปแบบความไวของเชื้อ ร่วมกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาเพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่ควรเลือกยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างเกินไป ยาปฏิชีวนะที่แนะนำให้ใช้ในการผ่าตัดทั่วไป เช่น การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทางเดินน้ำดี ช่องอก (ที่ไม่ใช่การผ่าตัดหัวใจ) การผ่าตัดเส้นเลือด การผ่าตัดระบบประสาทและสมอง และหัตถการทางออร์โธปิดิกส์ ได้แก่ first-generation cephalosporin เช่น cephazolin หากพบความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ MRSA ให้พิจารณาใช้ vancomycin แทน สำหรับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนักต้องเลือกยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อกลุ่ม aerobic และ anaerobic ซึ่งเป็นเชื้อประจำถิ่นในลำไส้
คำแนะนำในการเลือกยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดในหัตถการต่างๆ สรุปตามตารางที่ 1 แพทย์ผู้สั่งควรคำนึงถึงปฏิกิริยาระหว่างยา และผลข้างเคียงของยา และควรมีระบบการประเมิน กำกับติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม ในปัจจุบันไม่มีข้อมูลสนับสนุนการให้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ใส่สายสวน (invasive line, drain, catheter) หากสงสัยการติดเชื้อควรนำสายสวนเหล่านั้นออก
ไม่ควรใช้ vancomycin ในการป้องกันการติดเชื้อเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่ามี colonization ของเชื้อ MRSA ในผู้ป่วยหรือผู้ป่วยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ MRSA สูง เนื่องจาก vancomycin ไม่มีประสิทธิภาพเท่า cephazolin ในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอื่น
การใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ penicillin พบการเลือกยาไม่เหมาะสมจากการขาดความเข้าใจกลไกการแพ้ยาทำให้ผู้ป่วยได้รับยาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันการติดเชื้อ สิ่งที่ควรพิจารณาคือ การแพ้ของผู้ป่วยเป็นการแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis – IgE mediated reaction) จริงหรือไม่ และการแพ้ข้ามกลุ่มของ penicillin กับ cephalosporin ต้องพิจารณาจากลักษณะทางโครงสร้าง side chain ของยาแต่ละชนิด หากไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาในการป้องกันการติดเชื้อที่เหมาะสมที่สุด

ยาปฏิชีวนะที่แนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดในหัตถการต่างๆ

Neonatal Surgery
Cardiac Surgery
Gastrointestinal/Abdominal Surgery
Genitourinary Surgery
Head and Neck Surgery
Neurosurgery
Eye Surgery
Orthopedic Surgery
Thoracic Surgery
Traumatic Wound

ตารางที่ 1 ยาปฏิชีวนะที่แนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดในเด็ก

ชนิดของหัตถการ แบคทีเรียที่อาจก่อโรค ยาปฏิชีวนะที่แนะนำ
Neonatal Surgery
อายุ ≤72 ชั่วโมง
หัตถการหลักทุกชนิด
Group B streptococci,
Enteric gram-negative bacilli,
Enterococci,
Coagulase-negative staphylococci
  • Ampicillin 50 mg/kg และ
    Gentamicin 4 mg/kg
อายุ >72 ชั่วโมง
หัตถการหลักทุกชนิด
พิจารณาเลือกยาปฏิชีวนะตามผลการเพาะเชื้อที่ colonization หรือเชื้อในโรงพยาบาล
 Cardiac Surgery
หัตถการเกี่ยวข้องกับหัวใจ
เช่น การปลูกถ่ายลิ้นหัวใจเทียม การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pace maker) เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจห้องล่าง (ventricular assist devices)
S. epidermidis
S. aureus,
Corynebacterium species,
Enteric gram-negative bacilli
  •  Cefazolin 30 mg/kg (สูงสุด 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)

หรือ
กรณีสงสัยการติดเชื้อ MRSA หรือ MRSE พิจารณาใช้

  • Vancomycin 15 มก/กก
 Gastrointestinal/ Abdominal Surgery
การผ่าตัดหลอดอาหารและลำไส้ส่วน duodenum Enteric gram-negative bacilli,
Gram-positive cocci
  • Cefazolin 30 mg/kg (สูงสุด 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)

(เฉพาะความเสี่ยงสูง: หลอดอาหารอุดกั้น มีการลดลงของกรดในกระเพาะหรือการเคลื่อนที่ของทางเดินอาหาร

ทางเดินน้ำดี Enteric gram-negative bacilli,
Enterococci
  • Cefazolin 30 mg/kg (สูงสุด 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)

(ถุงน้ำดีอักเสบชนิดเฉียบพลัน มีตัวเหลืองจากการอุดกั้น นิ่วใน common duct, nonfunctioning gallbladder)

ลำไส้-ทวารหนัก-ไส้ติ่ง
(ไม่ซับซ้อน ไม่ทะลุ)
Enteric gram-negative bacilli,
Enterococci, anaerobes
(Bacteroides species)
  •  Cefoxitin หรือ cefotetan

40 mg/kg (สูงสุด 2 g)
หรือ

  • Metronidazole 15 mg/kg (สูงสุด 500 mg) และ Gentamicin 2.5 mg/kg

หรือ

  • Cefazolin 30 mg/kg (สูงสุด 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg) และ Metronidazole 15 mg/kg (สูงสุด 500 mg)
อวัยวะภายในแตก
(ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาไม่ใช่การป้องกันการติดเชื้อ)
Enteric gram-negative bacilli,
Enterococci, anaerobes
(Bacteroides species)
  • Cefoxitin 40 mg/kg (สูงสุด 2 g) ±
    Gentamicin 2.5 mg/kg

หรือ

  • Metronidazole 15 mg/kg (สูงสุด 500 mg) และ Gentamicin 2.5 mg/kg
    และ Ampicillin 50 mg/kg (สูงสุด 2 g)

หรือ

  •  Ertapenem 15 mg/kg (สูงสุด 1 g)

หรือ
• สูตรยาอื่นสำหรับรักษาไส้ติ่งอักเสบชนิดซับซ้อน
กรณีสงสัยการติดเชื้อ Pseudomonas spp. พิจารณาให้ Meropenem 10 mg/kg (สูงสุด 1 gm)

 Genitourinary Surgery
การผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ Enteric gram-negative bacilli,
Enterococci
  • Cefazolin 30 mg/kg (max: 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)

หรือ

  • Trimethoprim-sulfamethoxazole
    4 mg/kg ของ trimethoprim (สูงสุด 160 mg), 20 mg/kg ของ sulfamethoxazole (สูงสุด 400 mg)
 Head and Neck Surgery
การผ่าตัดศีรษะและคอ

(ลงมีดผ่านช่องปาก หรือเนื้อเยื่อคอหอย)

Anaerobes,
Enteric gram-negative bacilli,
S. aureus
  • Cefazolin 30 mg/kg (max: 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg) และ
    Metronidazole 15 mg/kg (สูงสุด 500 mg)

หรือ

  • Clindamycin 10 mg/kg (สูงสุด 900 mg) ±
    Gentamicin
    5 mg/kg

หรือ

  • Ampicillin-sulbactam50 mg/kg (สูงสุด 3 g)
 Neurosurgery
การผ่าตัดระบบประสาท
และสมอง(ผ่าตัดเปิดกะโหลก การทำ ventricular หรือ intrathecal shunt)
S. epidermidis,
S. aureus
  • Cefazolin 30 mg/kg (max: 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)

หรือ

กรณีสงสัยการติดเชื้อ MRSA หรือ MRSE พิจารณาใช้

  • Vancomycin 15 มก/กก
 Eye Surgery
การผ่าตัดตา S. epidermidis,
S. aureus,
Streptococci,
Enteric gram-negative bacilli,
Pseudomonas species
  • Gentamicin,
  • Ciprofloxacin,
  • Ofloxacin, Moxifloxacin,
  • Tobramycin

หยอดตาต่อเนื่องนาน 2–24 ชั่วโมง ก่อนการทำหัตถการ

หรือ

  • Neomycin-gramicidin-polymyxin

หยอดตาต่อเนื่องนาน 2–24 ชั่วโมงก่อนการทำหัตถการ

 Orthopedic Surgery
การผ่าตัดออร์โธปิดิกส์

(การทำ internal fixation ในผู้ป่วยกระดูกหัก การปลูกถ่ายวัสดุ เช่น ข้อเทียม การผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ว่าจะมีการใช้วัสดุหรือไม่ก็ตาม)

S. epidermidis,
S. aureus
  • Cefazolin 30 mg/kg (max: 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)

 หรือ

กรณีสงสัยการติดเชื้อ MRSA หรือ MRSE พิจารณาใช้

  • Vancomycin 15 มก/กก
 Thoracic Surgery
การผ่าตัดช่องอก

(ที่ไม่ใช่การผ่าตัดหัวใจ)

S. epidermidis,
S. aureus,
Streptococci
Enteric gram-negative bacilli
  • Cefazolin 30 mg/kg (max: 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)

 หรือ

กรณีสงสัยการติดเชื้อ MRSA หรือ MRSE พิจารณาใช้

  • Vancomycin 15 มก/กก
 Traumatic Wound
การผ่าตัดแผลบาดเจ็บ

(เชื้อก่อโรคมีความหลากหลายขึ้นกับตำแหน่งของการบาดเจ็บและวัตถุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ เช่น การทะลุจากอุบัติเหตุยานพาหนะ, การบาดเจ็บจากงานเกษตรกรรม)

เชื้อที่ผิวหนัง:
S. aureus,
Group A Streptococci,
S. epidermidis
  • Cefazolin 30 mg/kg (max: 2 g; 3 g หากน้ำหนัก ≥120 kg)
กรณีที่มีการทะลุของอวัยวะภายใน:
  • Cefoxitin 40 mg/kg (สูงสุด 2 g) ±
    Gentamicin 2.5 mg/kg

หรือ

  • Gentamicin 2.5 mg/kg และ
    Metronidazole 15 mg/kg (สูงสุด 500 mg) และ
    Ampicillin 50 mg/kg (สูงสุด 2 g)

หรือ

  • Ertapenem 15 mg/kg (สูงสุด 1 g)

หรือ

  • สูตรยาอื่นสำหรับรักษาไส้ติ่งอักเสบชนิดซับซ้อน เช่น
    Meropenem 10 mg/kg (สูงสุด 1 gm)

 

 

 

OTHER RESOURCES

Reference

American Academy of Pediatrics. Antimicrobial prophylaxis in Pediatric surgery. In: Kimberlin DW, Barnett ED, Lynfield R, Sawyer MH, eds. Red Book: 2021 Report of the Committee on Infectious Diseases. Itasca, IL: American Academy of Pediatrics: 2021[1010-20].

P-01-SAP-01 Surgical prophylaxis image