[seopress_breadcrumbs]

BILIARY TRACT INFECTIONS

Introduction

การติดเชื้อระบบทางเดินน้ำดี ประกอบด้วย Acute cholecystitis เป็นการอักเสบติดเชื้อของถุงน้ำดี และ และ Acute cholangitis เป็นการติดเชื้อภายในท่อน้ำดี (common bile duct, extrahepatic duct และ intrahepatic duct)

https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=34334066

CLINICAL

การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผลจากการมีปัจจัยนำมาก่อน (secondary to predisposing factors) ส่วนใหญ่เป็นการอุดตันของทางเดินน้ำดีจากนิ่ว (Gall stone) ตามด้วย malignancy, stenosis หรือพยาธิ การอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การแบ่งระดับความรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินน้ำดี แสดงในตารางระดับความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญประกอบด้วย emphysematous cholecystitis, gangrenous cholecystitis, gallbladder empyema, liver access และ gall bladder perforation

ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินน้ำดี

ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินน้ำดีแบ่งเป็น 3 ระดับ ซึ่งใช้เป็นแนวทางการพิจารณาการรักษา

ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3
ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
(Acute cholecystitis)
ไม่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งใน ระดับ 2 และ 3  มีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  • WBC มากกว่า 18,000/mm3
  • คลำได้ก้อนกดเจ็บบริเวณใต้ชาย โครงขวา
  • เป็นมานานมากกว่า 72 ชั่วโมง
  • มีการอักเสบรุนแรงเฉพาะที่
มีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  • มี Septic shock
  • ซึมลง
  • PaO2/FiO2 ratio น้อยกว่า 300
  • ปัสสาวะออกน้อย หรือ creatinine มากกว่า 2.0 mg/dL
  • INR มากกว่า 1.5
ท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
(Acute cholangitis)
 มี 2 ใน 5 ข้อดังต่อไปนี้

  • WBC มากกว่า 12,000/mm3 หรือ น้อยกว่า 4,000/mm3
  • ไข้สูงเกิน 39°C
  • อายุมากกว่า 75 ปี
  • Total bilirubin มากกว่า 5 mg/dL
  • Albumin น้อยกว่า 2.5 g/dL

 

หมายเหตุ
*แนะนำให้ส่งเพาะเชื้อในเลือดในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับ 2 ขึ้นไป

 

COMMON PATHOGENS

COMMON PATHOGENS

  • Acute cholecystitis ประมาณ 40% เป็นลักษณะ noninfectious
  • การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อต่อจากการติดเชื้อที่ท่อน้ำดี (Acute cholangitis) เชื้อแบคทีเรียที่พบเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ E. coli (22-50%) Klebsiella spp. (15-20%) Enterobacter spp. (5-10%) และ Enterococcus (10-20%)
  • การติดเชื้อกลุ่มเชื้อดื้อยาอาจพบได้ในกลุ่ม healthcare-associated infections หรือเคยได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อน

TREATMENTS

General Principle

  • แนะนำให้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อ Enteric Gram-negative bacilli โดยยึดตามระบาดวิทยาในโรงพยาบาล
  • ยาปฏิชีวนะที่แนะนำแสดงในหัวข้อ Recommended Antibiotics
  • ระยะเวลาการให้ยาต้านจุลชีพ
    ⇒ โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis)
    • หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน พิจารณาหยุดยาต้านจุลชีพ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
    • หากมีภาวะแทรกซ้อน ให้ยาต้านจุลชีพต่อ 4-7 วัน หลังการผ่าตัด
    ⇒ โรคท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholangitis)
    • แนะนำให้ยาต้านจุลชีพต่อ 4-7 วัน หลังการผ่าตัด

Recommended Antibiotics

ยาต้านจุลชีพ /
ระดับความรุนแรง
การติดเชื้อจากชุมชน การติดเชื้อในโรง
พยาบาล(4)
ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3
กลุ่ม Penicillin Ampicillin/
sulbactam(1)
Piperacillin/
tazobactam
Piperacillin/
tazobactam
Piperacillin/
tazobactam
กลุ่ม Cephalosporins Cefuroxime หรือ
Ceftriaxone หรือ
Cefotaxime

± Metronidazole(2)

Cefotaxime หรือ Ceftriaxone หรือ Ceftazidime หรือ Cefepime

± Metronidazole(2)

Ceftazidime หรือ
Cefepime

± Metronidazole(2)

Ceftazidime หรือ
Cefepime

± Metronidazole(2)

กลุ่ม
Fluoroquinolones(3)
Ciprofloxacin หรือ Levofloxacin

± Metronidazole(2)
Moxifloxacin

Ciprofloxacin หรือ Levofloxacin

± Metronidazole(2) Moxifloxacin

ไม่แนะนำ ไม่แนะนำ

 

หมายเหตุ

(1) ไม่แนะนำในกรณีระบาดวิทยาในโรงพยาบาล พบเชื้อดื้อต่อ Ampicillin/sulbactam มากกว่าร้อยละ 20
(2) ให้ยาต้านจุลชีพที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ anaerobe ในกรณีที่มี biliary-enteric anastomosis หรือมีภาวะแทรกซ้อนเช่น emphysematous cholecystitis ได้แก่ Metronidazole, Beta lactam-beta lactamase inhibitors, Carbapenems และ Moxifloxacin
(3) กลุ่ม Fluoroquinolones แนะนำในกรณีทราบผลความไวยาแล้ว หรือผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม Beta lactam
(4) การติดเชื้อจากชุมชนความรุนแรงระดับ 3 และการติดเชื้อในโรงพยาบาล แนะนำให้ยาต้านจุลชีพที่มีมีฤทธิ์ต่อ Pseudomonas spp. และ Enterococcus spp. ร่วมด้ว

การผ่าตัด

  • โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis)
    ⇒ ระดับ 1 ควรทำ cholecystectomy โดยเร็วภายใน 72 ชั่วโมง
    ⇒ ระดับ 2 ควรทำ cholecystectomy หรือเจาะระบายน้ำดีหากผู้ป่วยอาการไม่คงที่
    ⇒ ระดับ 3 ควรได้รับการเจาะระบายน้ำดี
  • โรคท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholangitis)
    ⇒ ระดับ 1 หากตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ พิจารณาระบายทางเดินน้ำดีเมื่อพร้อม
    ⇒ ระดับ 2 และ 3 ควรพิจารณาระบายทางเดินน้ำดีโดยเร็ว

 

OTHER RESOURCES

References

[1] Gomi H, Solomkin JS, Schlossberg D, et al., “Tokyo Guidelines 2018: antimicrobial therapy for acute cholangitis and cholecystitis,” J Hepatobiliary Pancreat Sci, pp. 3-16, January 2018.

[2] Miura F, Okamoto K, Takada T, et al., “Tokyo Guidelines 2018: initial management of acute biliary infection and flowchart for acute cholangitis,” J Hepatobiliary Pancreat Sci., vol. 25, no. 1, pp. 55-72, January 2018.

[3] Okamoto K, Suzuki K, Takada T, et al., “Tokyo Guidelines 2018: Flowchart for acute cholangitis,” J Hepatobiliary Pancreat Sci, vol. 25, no. 1, pp. 55-72, January 2018.

[4] วลัยพร วังจินดา, “Biliary Tract Infections,” in Handbook of Infectious Disease [Book Editors: รุจิภาส สิริจตุภัทร, ภาคภูมิ พุ่มพวง, วลัยพร วังจินดา], 2nd ed., Bangkok, สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564, pp. 151-154. ISBN 978-616-443-547-6.

M-04-GI-04 Biliary tract INFECTIONS image