GASTROINTESTINAL INFECTIONS
Introduction
โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) และโรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เองจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และแบคทีเรีย normal flora เช่น กลุ่ม Lactobacillus spp., Bifidobacterium spp. เป็นต้น ที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคหรือสารพิษ ดังนั้น การพิจารณาเลือกใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม และไม่ให้เกินความจำเป็นจึงมีความสำคัญที่จะช่วยยังยั้งปัญหาการเพิ่มสายพันธุ์แบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ
CLINICAL
Food Poisoning
เป็นกลุ่มอาการป่วยหลังรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษที่เกิดจากเชื้อโรค มีอาการปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน และอาจมีประวัติการป่วยในกลุ่มรับประทานอาหารร่วมกันในเวลาไล่เลี่ยกัน มีอาการไข้ ปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายเหลวตามมา
Diarrhea
เป็นภาวะการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต โปรโตซัว หรือหนอนพยาธิ ทำให้มีอาการถ่ายเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกปนเลือด 1ครั้ง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย
COMMON PATHOGENS
ดูรายละเอียดในหัวข้อ TREATMENT
TREATMENTS
Food Poisoning
สาเหตุเกิดจา Bacterial enterotoxin ที่ผลิตจากเชื้อ S. aureus หรือ B. cereus หรือ C. perfringens ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งแบคทีเรีย normal flora เช่น กลุ่ม Lactobacillus spp., Bifidobacterium spp. ที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคหรือสารพิษ การรักษาจึงเน้นไปที่การรักษาแบบ symptomatic treatment และชดเชยการสูญเสียน้ำ ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
Acute Diarrhea
การให้การรรักษาพิจารณาจากลักษณะทางคลินิกตามสาเหตุเชื้อก่อโรคที่พบบ่อย
Diarrhea: Secretory Type without Fever
ลักษณะทางคลินิก
ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาการไม่รุนแรง และไม่มีไข้
จุลชีพก่อโรค
ส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส Norovirus และ Rotavirus เป็น community-acquired infection จากคนสู่คน
การรักษา
รักษาตามอาการ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
Diarrhea: Inflammatory Type with Fever
ลักษณะทางคลินิก
ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด หรือถ่ายเป็นน้ำรุนแรง และมีไข้
จุลชีพก่อโรค
เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ V. cholerae, Shigella, Campylobacter spp. และ Nontyphoidal salmonella
การรักษา
Empirical treatment:
- Ciprofloxacin 500 mg PO bid หรือ
- Levofloxacin 500 mg PO od
Pathogen-specific treatment:
- V. cholerae: azithromycin 500 mg PO od 3 วัน
- Shigella: ceftriaxone 2 g IV od 5 วัน
- Campylobacter spp.: Azithromycin 500mg PO od 3 วัน
Diarrhea: Nosocomial Antibiotic-associated
ลักษณะทางคลินิก
มีประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะ ตั้งแต่ 2 ชั่วโมง ถึง 3 เดือน ระดับความรุนแรงแตกต่างกัน ตั้งแต่ Mild watery diarrhea with mucus จนถึง Fulminant colitis/toxic megacolon
จุลชีพก่อโรค
เกิดจากการที่ยา broad-spectrum antibiotics ฆ่าเชื้อ normal flora ใน GI หรือก่อให้เกิด direct irritation ทำให้เกิดเชื้อก่อโรค overgrowth ทำให้เกิดพยาธิสภาพของโรคตามมา ที่พบบ่อยคือเชื้อ Clostridium difficile
การรักษา
พิจารณาหยุดยา broad-spectrum antibiotics ที่ใช้ Recommended antibiotics: Vancomycin 125 g oral qid 10 days
กรณีผู้ป่วย severe พิจารณา Rectal vancomycin หรือ colectomy หากมีข้อบ่งชี้อ
OTHER RESOURCES
OTHER RESOURCES
https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/antibiotic-associated-diarrhea
References
[1] M. Susan Moyer, “sciencedirect,” 2007. [Online]. Available: https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/antibiotic-associated-diarrhea. [Accessed 15 November 2023].
[2] Giannelli, Frank R. MS, PA-C, “Antibiotic-associated diarrhea,” Journal of the American Academy of Physician Assistants, vol. 30, no. 10, pp. 46-47, 2017.