[seopress_breadcrumbs]

INTRAVASCULAR CATHETER-RELATED INFECTION

Introduction

การติดเชื้อในกระแสเลือดถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังการใส่สายสวนในหลอดเลือดดำ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ความเสี่ยงของการติดเชื้อขึ้นกับชนิดของสายสวน ตำแหน่งและระยะเวลาที่ใส่สายสวน ประเภทของการรักษา (ให้สารอาหาร ไขมันหรือเลือด) และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของผู้ป่วย

 

CLINICAL

คำจำกัดความ

Catheter colonization
ผลเพาะเชื้อจาก catheter tip, subcutaneous segment หรือ hub ให้ผลบวกอย่างน้อย 1 ชนิด

Exit site infection
ลักษณะแดง กดเจ็บ ภายในระยะ 2 ซม. จากตำแหน่ง exit site

Tunnel infection
ลักษณะแดง กดเจ็บ บริเวณ tunnel ระยะเกิน 2 ซม. จากตำแหน่ง exit site

Bloodstream infection
ผลเพาะเชื้อจาก peripheral vein ให้ผลบวกอย่างน้อย 1 ขวด ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  • ผลเพาะเชื้อจาก catheter tip ให้ผลบวกเชื้อเดียวกันอย่างน้อย 15 cfu
  • ระยะเวลาของผลบวกจากเลือดที่เก็บจาก catheter hub ไวกว่า peripheral vein อย่างน้อย 2 ชั่วโมง (differential time to positivity)
  • ถ้าพบเชื้อ Corynebacterium, Bacillus, Micrococcus อาจไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อจริง เชื้อดังกล่าวควรมีผลบวกจาก peripheral vein อย่างน้อย 2 ขวด

การวินิจฉัย

เมื่อสงสัยการติดเชื้อจากสายสวนหลอดเลือด

  • ส่งเพาะเชื้อจากเลือดก่อนให้ยาต้านจุลชีพ โดยเก็บจาก peripheral vein อย่างน้อย 1 ขวดร่วมกับจาก catheter hub อย่าง น้อย 1 ขวด พร้อมกัน
  • หากไม่สามารถเจาะเลือดจาก peripheral vein ได้ให้ส่งเลือดจาก catheter hub คนละตำแหน่งอย่างน้อย 2 ขวด
  • ถ้าจำเป็นต้องนำสายสวนหลอดเลือดออก ให้ส่ง catheter tip ยาว 5 ซม.เพื่อเพาะเชื้อ

ถ้าพบ exudate ที่ตำแหน่ง exit site ควร swab เพื่อส่งย้อม Gram stain และเพาะเชื้อ

COMMON PATHOGENS

COMMON PATHOGENS

 

  เชื้อก่อโรคหลักที่พบได้ลักษณะการใส่สายสวน
 • Percutaneously inserted,
non-cuffed catheter หรือ
short-term CVC
 Coagulase-negative staphylococci
S. aureus
Candida spp. และ
Enteric Gram-negative bacilli
 • Surgically implanted CVC หรือ
long-term CVC และ PICC
 Coagulase-negative staphylococci
Enteric Gram-negative bacilli
S. aureus และ
P. aeruginosa
 • สายสวนตำแหน่ง Femoral vein  มีโอกาสติดเชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae และ Enterococci
 เชื้อก่อโรคอื่นๆ
 • มีรายงานเชื้อก่อโรคที่พบได้  Enterococci
Acinetobacter spp.
Stenotrophomonas maltophilia
Burkholderia cepacian complex

TREATMENTS

TREATMENT

General Principle

  • การรักษาหลักประกอบด้วยการพิจารณานำสายสวนออกเมื่อมีข้อบ่งชี้ และการให้ยาต้านจุลชีพ (systemic antibiotic)
  • การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ พิจารณาตามชนิดของเชื้อก่อโรคเป็นหลัก (กรณีที่ยังไม่ทราบชนิดของเชื้อ และมีความจำเป็น เช่นผู้ป่วยมีอาการหนัก ให้พิจารณาใช้ Empiric therapy และปรับยาชนิดของยาเมื่อทราบชนิดเชื้อก่อโรค และความไวต่อยา (Susceptibility)
  • พิจารณาใช้ Antibiotic Lock Therapy รักษาร่วม กรณีที่ไม่สามารถเอาสายสวนออกได้ หรือ long-term catheter

Empiric Therapy: การให้ยาต้านจุลชีพเบื้องต้น

การเลือกยาต้านจุลชีพเบื้องต้นที่ครอบคลุมเชื้อก่อโรคตามตำแหน่งของสายสวน ชนิดของยาขึ้นกับข้อมูลระบาดวิทยา และอีตราการติดเชื้อ (antibiogram) ของโรงพยาบาล

ข้อพิจารณาการเลือกใช้ยา Recommended antibiotic
 • ยาที่ออกฤทธิ์ต่อ Gram-positive bacteria ให้ผู้ป่วยทุกราย Preferred:
– Vancomycin
Alternative:
– Daptomycin
 • แนะนำให้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อ Gram-negative bacteria ในกรณีดังต่อไปนี้
– ระบาดวิทยาในโรงพยาบาลพบสาเหตุจากเชื้อ Gram-negative bacteria มาก
– อาการรุนแรง หรืออยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต
– มีภาวะ neutropenia
– ใส่สายสวนบริเวณ femoral vein
– มีการติดเชื้อหรือ colonization จากเชื้อ Gram-negative bacteria มาก่อน
Preferred:
เลือกข้อใดข้อหนึ่ง
– Cefepime
– Ceftazidime
– Piperacillin-tazobactam
– Carbapenems / Meropenem
โดยอาจให้ร่วมกับ aminoglycosides
 • แนะนำให้ยาต้านเชื้อรา ในกรณีมีอาการรุนแรงร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
– ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
– ได้ broad-spectrum antibiotic เป็นเวลานาน
– ผู้ป่วย Hematologic malignancy หรือ ปลูกถ่ายอวัยวะ หรือไขกระดูก
– ใส่สายสวนบริเวณ femoral vein
– มี colonization จากเชื้อ Candida หลายตำแหน่ง
Preferred:
เลือกข้อใดข้อหนึ่ง
– Echinocandin
– Fluconazole (กรณีไม่ประวัติได้รับยากลุ่ม Triazoles ภายใน 3 เดือน)

 

Pathogen-directed: การให้ยาต้านจุลชีพที่จำเพราะตามชนิดของเชื้อจุลชีพก่อโรค

  • ใช้ยาต้านจุลชีพที่จำเพาะตามชนิดและผลความไวยาของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ ตารางที่ M03-01
  • ระยะเวลาในการให้ยาต้านจุลชีพ นับจากผลเพาะเชื้อในเลือดเป็นลบเป็นวันที่ 1

Gram-positive cocci

เชื้อก่อโรค ยาหลัก ยาทางเลือก ระยะเวลาการรักษา
 Staphylococcus aureus
– MSSA Cloxacillin ขนาดสูง Cefazolin ขนาดสูง หรือ vancomycin • ให้ยานาน 4-6 สัปดาห์ร่วมกับนำสายสวนออก
• กรณีต่อไปนี้สามารถให้ยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ได้ร่วมกับนำสายสวนออก

  • ไม่มีโรคเบาหวาน
  • ไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ไม่ได้ใส่ prosthetic intravascular device • ไม่พบ endocarditis, suppurative
  • thrombophlebitis หรือ metastatic
  • infection ที่อื่น
  • ไข้และ bacteremia หายภายใน 72 ชั่วโมง

• ใน long-term catheter หากไม่สามารถนำสาย สวนออกได้แนะนะให้ antibiotic lock therapy ร่วมด้วย นาน 4 สัปดา

– MRSA Vancomycin Daptomycin,
Linezolid,
Co-trimoxazole
(ถ้าไว)
 Coagulase-negative Staphylococci
– MR-CoNS  Cloxacillin ขนาดสูง  Cefazolin ขนาดสูง, vancomycin หรือ
Co-trimoxazole
(ถ้าไว)
 ถ้านำสายสวนออก ให้ยานาน 5-7 วัน • ถ้าไม่ได้นำสายสวนออก ให้ยานาน 10-14 วัน ร่วมกับ antibiotic lock therapy
– MR-CoNS  Vancomycin  Daptomycin หรือ
 Enterococci
– Ampicillin susceptible  Ampicillin  Vancomycin • ให้ยานานอย่างน้อย 7-14 วัน
• หากไม่ได้นำสายสวนออก แนะนำให้ antibiotic
lock therapy ร่วมด้วย
– Ampicillin resistant  Vancomycin Linezolid หรือ
Daptomycin
– Vancomycin resistant Linezolid หรือ
Daptomycin

 

Gram-negative bacilli

เชื้อก่อโรค ยาหลัก ระยะเวลาการรักษา
 • ขึ้นกับชนิดและผลความไวยา
– Non-MDR 3rd หรือ 4th generation cephalosporins, Betalactam-betalactamase inhibitors, Fluoroquinolones • ให้ยานานอย่างน้อย 7-14 วัน
• ใน long-term catheter หากไม่สามารถนำสาย สวนออกได้แนะนะให้ antibiotic lock therapy ร่วมด้วย นาน 10-14 วัน
– MDR Carbapenems, piperacillin-tazobactam±
Aminoglycoside
– Carbapenem-resistant หรือ XDR Colistin ร่วมกับยาอื่นตามผลความไวยา
– S. maltophilia Co-trimoxazole หรือ
Levofloxacin
– B. cepacia Co-trimoxazole หรือ
Carbapenems

 

Fungi

 เชื้อก่อโรค ยาหลัก ยาทางเลือก ระยะเวลาการรักษา
 Candida spp.
– Candida spp Echinocandin or fluconazole (ถ้าไว) Conventional หรือ
liposomalamphotericin B
ให้ยานานอย่างน้อย 14 วันหลังจากผลเพาะเชื้อจากเลือดเป็นลบ

 

Antibiotic Lock Therapy (ALT)

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ด้วยวิธี Antibiotic Lock Therapy มีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกี่ยวข้องกับสายสวนหลอดเลือด และไม่สามารถนำสายสวนหลอดเลือดออกได้ เป็นการรักษาเชิงป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด

แนวปฏิบัติการใช้ ALT

  • ในกรณีติดเชื้อในกระแสเลือด (bloodstream infection) แนะนำใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือด (systemic antibiotics) ไม่แนะนำรักษาด้วยวิธี ALT เพียงวิธีเดียว ใช้เวลานาน 10-14 วัน โดยสอดคล้องไปกับระยะเวลาการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด
  • ใน Long-term catheter colonization ด้วยเชื้อ Coagulase-negative Staphylococci หรือ Gram-negative bacteria ใช้ Antibiotic lock monotherapy นาน 10-14 วัน
  • ไม่มีประโยชน์สำหรับการติดเชื้อนอกหลอดสายสวน (extraluminal)
  • ควรนำสายสวนออก ถ้ารักษาด้วยวิธี ALT แล้วยังมีอาการหลังให้ยาปฏิชีวนะนานกว่า 36 ชม. หรือ พบเชื้อขึ้นหลังให้ยานานกว่า 72 ชม.
  • ระยะเวลาน้อยสุดที่ควรให้ยาค้างไว้ คือ 8-12 ชม.ต่อวัน และควรให้ใหม่ทุก 24 ชั่วโมง แต่สำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แนะนำให้ใหม่ในทุกครั้งของการฟอกเลือด

Contraindication

  • มีประวัติ heparin-induced thrombocytopenia (HIT) สำหรับ ALT-containing heparin ยกเว้น Gentamicin lock ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ heparin
  • มีประวัติแพ้ต่ออุปกรณ์ ALT
  • ข้อห้ามทางศาสนา กรณีไม่ให้ใช้ pork components ที่เป็นกระบวนการผลิต heparin ยกเว้น Gentamicin lock ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ heparin
  • มี Catheter tunnel หรือ exit site infect

ยาปฏิชีวนะสำหรับ ALT

ยาปฏิชีวนะต้องเข้ากันได้กับ heparin หรือสารที่ให้ร่วม (citrate, EDTA) และมีความคงสภาพยาวนาน ความเข้มข้นของสารละลายที่แนะนำในตารางที่ M03-02

ตารางที่ M03-02 ความเข้มข้นของสารละลาย Antibiotic lock therapy ที่แนะนำ

ยาต้านจุลชีพ ความเข้มข้น (mg/mL)  Heparin หรือ saline (IU/mL)
Vancomycin 2 10
2.5 2,500 หรือ 5,000
5 0 หรือ 5,000
Ceftazidime 0.5 100
Cefazolin 2.5 2,500 หรือ 5,000
Ciprofloxacin 0.2 5,000
Gentamicin 1 2,500
Ampicillin 10 10 หรือ 5,000
Ethanol 70% 0

 

ข้อบ่งชี้ในการนำสายสวนหลอดเลือดออก

ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
Uncomplicated infection 
Short-term catheter ที่ติดเชื้อดังต่อไปนี้ Long-term catheter ที่ติดเชื้อดังต่อไปนี้
  • Gram-negative bacteria
  • aureus 
  • S. aureus
  • aeruginosa
  • Enterococci
  • Fungi
  • Fungi
  • Mycobacteria
  • Mycobacteria
Complicated infection (ทั้ง short-term และ long-term catheter)
  • ผลเพาะเชื้อในเลือดยังให้ผลบวกเกิน 72 ชั่วโมงหลังให้ยาต้านจุลชีพ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ Intravascular hardware
  • ตรวจพบ Endocarditis, suppurative thrombophlebitis, osteomyelitis, tunnel infection*
* พิจารณาการตรวจติดตามหาภาวะแทรกซ้อนด้วยวิธี Echocardiogram
Low virulent organism (รักษายาก) เช่น Bacillus, Micrococcus, Proprionibacterium

 

ข้อบ่งชี้ในการหาภาวะแทรกซ้อนโดย Echocardiogram

 ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
 ผู้ป่วยที่ใส่ Prosthetic valve หรือ intravascular devices
 ผลเพาะเชื้อในเลือดยังให้ผลบวกเกิน 72 ชั่วโมงหลังให้ยาต้านจุลชีพ
 ตรวจร่างกายสงสัยภาวะ endocarditis เช่น new murmur หรือ embolic phenomenon
 ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบลักษณะของ septic pulmonary emboli
 ผู้ป่วย S. aureus bloodstream infection ที่จะให้ยาต้านจุลชีพนานน้อยกว่า 4-6 สัปดาห์

 

OTHER RESOURCES

OTHER RESOURCES

Reference:

1. Mermel LA, Allon M, Bouza E, et al. Clinical practice guidelines for the diagnosis and management of intravascular catheter-related infection: 2009 Update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect Dis. 2009 Jul 1;49(1):1-45.

2. อนุภพ จิตต์เมือง. Catheter-related bloodstream infections. ใน: รุจิภาส สิริจตุภัทร, ภาคภูมิพุ่มพวง, วลัยพร วังจินดา (บรรณาธิการ). Handbook of Infectious Disease. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; พ.ศ. 2564. หน้า 138-145.

3. จาฏพัจน์ เหมพรรณไพเราะ, “Antibiotic lock therapy,” ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, 2564.

4. อรศรี วิทวัสมงคล, “การติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง,” 2023. [Online]. Available: https://cimjournal.com/confer-update/blood-stream-infection-cabsi/. [Accessed 09 November 2023].